Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นระเบียบ, ระเบียบ, อย่าง, เป็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นระเบียบ, 9597 found, display 1751-1800
  1. กรรมการิณี : [กํามะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
  2. กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
  3. กรรมบถ : [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
  4. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  5. กรรมวิธี : [กํามะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทําขึ้นอันดําเนินติดต่อ กันเรื่อยไปเป็นลําดับ, กระบวนวิธีดําเนินการในประดิษฐกรรม.
  6. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  7. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  8. กรวน : [กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
  9. กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
  10. กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
  11. กรวย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
  12. กรวยเชิง : น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
  13. กรวิก ๒ : [กะระ-, กอระ-] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  14. กรสุทธิ์ : [กะระ-] น. ''การชําระมือให้หมดจด'', พิธีอย่างหนึ่งของ พราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้ สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
  15. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  16. กรอกแกรก ๑ : [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
  17. กรอง ๒ : [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย, เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ, ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากน้ำหรือสิ่ง ที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
  18. กรอด ๒ : [กฺรอด] ว. เซียวลง เช่น ผอมกรอด; เสียงดังอย่างเสียงกัดฟัน.
  19. กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
  20. กรอบเกรียบ : (โบ) ว. มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้ง หรือกรอบ, เกรียบกรอบ ก็ว่า.
  21. กรอบแกรบ : ว. เต็มที เช่น แห้งกรอบแกรบ จนกรอบแกรบ; มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ.
  22. กรอบหน้า : น. เครื่องประดับขอบหน้าผากเป็นรูปกระจังเป็นต้น. (รูปภาพ กรอบหน้า)
  23. กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  24. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  25. กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
  26. กระเง้ากระงอด : ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, เง้างอด หรือ เง้า ๆ งอด ๆ ก็ว่า.
  27. กระจก : น. แก้วที่ทําเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก. (ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
  28. กระจกหุง : น. กระจกสีชนิดบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีสีต่าง ๆ ใช้ประดับอาคาร วัตถุ หรือเครื่องใช้เป็นต้น.
  29. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  30. กระจอก ๔ : น. ลักษณะแมวอย่างหนึ่ง สีตัวดําทั้งหมด มีขนสีเทาล้อมรอบปาก ตาสีเหลือง เรียกว่า แมวกระจอก. (โชค-โบราณ).
  31. กระจ้อน ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Menetes berdmorei ในวงศ์ Sciuridae เป็นสัตว์จำพวกกระรอก ตัวสีน้ำตาล มีลายสีดําและน้ำตาลอ่อนตามยาว ข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง วิ่งหากินตามพื้นดิน.
  32. กระจัก : (กลอน) ก. เป็นจัก ๆ เช่น กระจักกระจังบัลลังก์บัวหงาย ธูปรองทองทราย สลับด้วยแก้วแกมนิล. (พากย์).
  33. กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
  34. กระจังหลังเบี้ย : น. ใบไม้เล็ก ๆ เป็นหยัก ๆ. (ปาเลกัว).
  35. กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
  36. กระจาด : น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียก เครื่องสานที่ทําเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สําหรับ ใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ.
  37. กระจาบ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรัง อยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทํารังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
  38. กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
  39. กระจูด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lepironia articulata (Retz.) Domin ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลมภายในกลวง และมีเยื่ออ่อนหยุ่นคั่น เป็นข้อ ๆ ใช้สานเสื่อหรือกระสอบ. (เทียบมลายู kerchut).
  40. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  41. กระเจาะ ๑ : ว. มีแผลเป็นที่ลูกตา เรียกว่า ตากระเจาะ.
  42. กระเจี๊ยบ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moench ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก.
  43. กระเจียว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาว อยู่ระหว่าง กาบสีขาวปลายสีม่วงใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง.
  44. กระแจะ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทํายา, กะแจะ กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก.
  45. กระโจมไฟ : น. หอสูงซึ่งตามไฟฉายแสงอย่างแรงไว้บนยอดเพื่อใช้ บอกสัญญาณในการเดินเรือเป็นต้น, ประภาคาร หรือ เรือนตะเกียง ก็เรียก.
  46. กระฉอก : ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
  47. กระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึกให้เข้ากัน อบด้วยควันเทียนให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้ มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  48. กระเฉด : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Neptunia oleracea Lour. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำ ลําต้นอ่อนอุ้มน้ำ มีปลอกเป็นปุยขาว ๆ เป็นทุ่น เรียกว่า นม ใบย่อยเล็กเมื่อถูกสัมผัสก็หุบราบไป ดอกเหลืองเล็กออก ชิดกันเป็นก้อนกลม ลําต้นและใบใช้เป็นอาหารได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักรู้นอน, พายัพ เรียก ผักหนอง.
  49. กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
  50. กระช้อยนางรำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ นางรํา ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | [1751-1800] | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9597

(0.2048 sec)