Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นระเบียบ, ระเบียบ, อย่าง, เป็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นระเบียบ, 9597 found, display 4751-4800
  1. ธงชัย ๑ : น. ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ.
  2. ธงชัย ๒ : น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะ เข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
  3. ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
  4. ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
  5. ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
  6. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  7. ธงมหาราชใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  8. ธงเยาวราชใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาว ครึ่งหนึ่งของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  9. ธงราชินีใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
  10. ธงหางแซงแซว : น. เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว.
  11. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  12. ธนบัตร : [ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร).
  13. ธนสาร : [ทะนะสาน] น. ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  14. ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  15. ธนาคารออมสิน : (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  16. ธนิษฐะ, ธนิษฐา : น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๓ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปกา, ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ ก็เรียก.
  17. ธนู : ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง และ ลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู เป็นราศีที่ ๘ ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ).
  18. ธร : [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  19. ธรณินทร์ : [ทอระนิน] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  20. ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์ : [ทอระนิด] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  21. ธรณีศวร : น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ธรณี + อิศฺวร).
  22. ธรณีสงฆ์ : น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
  23. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  24. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  25. ธรรมกถา : น. การกล่าวธรรม, ถ้อยคําที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา). ธรรมกถึก น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรมว่า พระธรรมกถึก. (ป. ธมฺมกถิก).
  26. ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  27. ธรรมจักร : น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทาง พระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
  28. ธรรมชาติ : น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพ ภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
  29. ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
  30. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  31. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  32. ธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  33. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการ ปกครองประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ.
  34. ธรรมเนียม : [ทํา–] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.
  35. ธรรมวัตร : น. ลักษณะเทศน์ทํานองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทํานองแบบเทศน์มหาชาติ.
  36. ธรรมศาสตร์ : (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์ กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกําเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.
  37. ธรรมสังเวช : น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
  38. ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  39. ธรรมสามี : น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
  40. ธรรมาธิปไตย : [ทํามาทิปะไต, ทํามาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).
  41. ธรรมาธิษฐาน : [ทํามาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยก หลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺ?าน).
  42. ธรรมิก, ธรรมิก : [ทํามิก, ทํามิกกะ] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็น ธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
  43. ธเรศ : [ทะเรด] น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  44. ธเรษตรีศวร : [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  45. ธัญพืช : น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺ?พีช; ส. ธานฺยวีช).
  46. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  47. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  48. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  49. ธาร ๑ : [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร. (ป., ส.).
  50. ธารกำนัล, ธารคำนัล : [ทาระกํานัน, คํานัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจํานวนมาก, เช่น ต่อหน้าธารกํานัล, โบราณเขียนเป็น ทารกํานัน ก็มี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | [4751-4800] | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9597

(0.2377 sec)