Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นระเบียบ, ระเบียบ, อย่าง, เป็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นระเบียบ, 9597 found, display 6051-6100
  1. พระคุณเจ้า : ส. คําเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  2. พระเครื่อง : น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
  3. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  4. พระเจ้าหลวง : น. พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็น พระเจ้าแผ่นดินแทน.
  5. พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  6. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  7. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร ศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาล ยุติธรรมต่าง ๆ.
  8. พระแผง : น. พระพิมพ์ที่หล่อติดกันเป็นแผง, พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ใน แผงไม้ขนาดใหญ่.
  9. พระพุทธเจ้า : น. คําเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้ เป็นคํานําหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
  10. พระพุทธองค์ : ส. คําเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  11. พระยาโต๊ะทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่อง สำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่ง ที่ได้รับโต๊ะทอง.
  12. พระยาเทครัว : (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือ ทั้งพี่ทั้งน้อง.
  13. พระยาพานทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
  14. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  15. พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
  16. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  17. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  18. พระองค์เจ้า : น. ยศสําหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระ มหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสําหรับพระโอรสหรือที่ พระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสําหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสําหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.
  19. พระอันดับ : น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธาน หรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวช นาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
  20. พรักพร้อม : [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมา กันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้ พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า.
  21. พรั่งพรู : ว. เข้าหรือออกพร้อม ๆ กันอย่างเนืองแน่น เช่น คนพรั่งพรู กันเข้ามา คำพูดพรั่งพรูออกจากปาก.
  22. พร้า : [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสําหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสําหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สําหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สําหรับขุดดิน ได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
  23. พราก ๑ : [พฺราก] ก. จากไป, พาเอาไปเสียจาก, แยกออกจากกัน, เอาออก จากกัน, (ใช้เฉพาะสิ่งที่พัวพันกันอยู่อย่างใกล้ชิด) เช่น พรากลูก พรากเมียเขา พรากลูกจากอกแม่.
  24. พราง : [พฺราง] ก. ทําให้เข้าใจเป็นอื่น, ทําให้เลือน, เช่น พรางตัว พรางไฟ.
  25. พราย : [พฺราย] น. ผีจําพวกหนึ่ง (มักกล่าวกันว่าเป็นผีผู้หญิงที่ตายทั้งกลม); ต่อมนํ้าเล็ก ๆ ที่ผุดกระจายขึ้นจากนํ้า. ว. แวววาว, พราว, พร้อย.
  26. พรายทะเล : น. แสงสว่างที่เป็นแสงเรือง ๆ อยู่ที่เสากระโดงเรือ.
  27. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  28. พร่ำเพรื่อ : ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูด พร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า.
  29. พริก ๒ : [พฺริก] น. ชื่อนกชนิด Metopidius indicus ในวงศ์ Jacanidae ตัวสี นํ้าตาลเป็นมันวาว หางตาขาว ปากเหลือง นิ้วตีนยาวมากสําหรับ ใช้เดินบนพืชนํ้า บินไม่เก่ง กินพืชนํ้าและแมลง.
  30. พริกดอง : น. พริกหั่นหรือตําละเอียดแช่ในนํ้าส้มใช้เป็นเครื่องปรุง รสอาหาร, พริกนํ้าส้ม ก็เรียก.
  31. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  32. พรึน : ว. เป็นผื่น.
  33. พรุน : ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวําชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูก แมลงกัดกินพรุนไปหมด.
  34. พรู : ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
  35. พฤติการณ์ : น. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไป ในเวลากระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.
  36. พฤติ, พฤติ : [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
  37. พฤทธิ์ : [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลี และสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทําสระ ให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
  38. พฤนท์ : [พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จํานวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจํานวนสูงเท่ากับโกฏิยกกําลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).
  39. พฤศจิก : [พฺรึดสะจิก] น. แมงป่อง; ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพฤศจิก เป็นราศีที่ ๗ ในจักรราศี, ราศีพิจิก ก็ว่า. (ส. วฺฤศฺจิก; ป. วิจฺฉิก). พฤศจิกายน น. ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๘ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. วฺฤศฺจิก + อายน).
  40. พฤหัสบดี : [พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี] น. (โหร) เทพที่เป็นครูของเทวดา ทั้งหลาย; (ดารา) ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มี เส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒,๘๐๐ กิโลเมตร; ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. (ส. วฺฤหสฺปติ; ป. วิหปฺปติ).
  41. พลการ : [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  42. พลบ : [พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวัน ชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
  43. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  44. พลว : [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
  45. พลวง ๑ : [พฺลวง] น. ธาตุลําดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕?ซ. มี สมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).
  46. พลศาสตร์ : [พนละ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ เทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
  47. พลอง ๒ : [พฺลอง] น. เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง.
  48. พลอด : [พฺลอด] ก. พูดเรื่อยอย่างอ่อนหวานน่าฟัง.
  49. พลอย ๑ : [พฺลอย] น. หินที่มีเนื้อใสสีต่าง ๆ ใช้ทําเป็นเครื่องประดับมีหัวแหวน เป็นต้น, เรียกสิ่งที่ทําเทียมพลอยว่า พลอยหุง.
  50. พลอยสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ, จะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเจ้าสามสี ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | [6051-6100] | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9597

(0.3762 sec)