Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นระเบียบ, ระเบียบ, อย่าง, เป็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นระเบียบ, 9597 found, display 7751-7800
  1. ลูกระเบิด : น. สิ่งที่มีรูปร่างต่าง ๆ บรรจุดินระเบิดหรือสารเคมี บางอย่าง เมื่อเกิดการระเบิด บางชนิดมีอำนาจในการทำลาย เช่น ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดสังหาร บางชนิดก่อให้เกิดไฟไหม้ เช่น ลูกระเบิดเพลิง บางชนิดก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่เยื่อตา เช่น ลูกระเบิดน้ำตา.
  2. ลูกรัง : น. หินแลงที่เป็นเม็ด ๆ.
  3. ลูกรุ่ย : น. แก้วเป็นต้นที่ทําเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นรุ่ยสําหรับ ห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน.
  4. ลูกล้อ : ๑ น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่นขอบกระด้ง สําหรับเด็กตีเล่น.
  5. ลูกไล่ : น. ปลากัดหรือปลาเข็มที่ใช้สําหรับให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไล่เพื่อ ซ้อมกําลัง, โดยปริยายหมายถึงคนที่ยอมเป็นรองเขาเสมอ.
  6. ลูกสวาท : น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบําเรอ.
  7. ลูกสะกด : น. ลูกประคำที่เป็นลูกคั่น.
  8. ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
  9. ลูกสะใภ้ : น. หญิงซึ่งเป็นเมียของลูกชาย.
  10. ลูกสังกะสี : น. ชื่อปลากัดพันทางที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาลูกหม้อ กับปลาลูกป่าซึ่งเป็นชนิด Betta splendens เช่นเดียวกัน.
  11. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  12. ลูกหนี้ : น. ผู้เป็นหนี้, คู่กับ เจ้าหนี้; (กฎ) บุคคลผู้มีหนี้กับบุคคล อีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้.
  13. ลูกหนู ๒ : น. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่ แขน, ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลําได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้ ขากรรไกรล่างและใต้คาง.
  14. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  15. ลูกหลงแม่ : น. คำล้อเด็กที่หาแม่ไม่พบหรือสำคัญผิดคิดว่าหญิงอื่น เป็นแม่.
  16. ลูกหลาน : น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือ ที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
  17. ลูกหิน : น. ลูกกลมทําด้วยหินเป็นต้นสําหรับเด็กเล่น.
  18. ลูกเหม็น : น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
  19. ลูกอม : น. ลูกกลม ๆ ทําด้วยของต่าง ๆ ใช้อมเป็นเครื่องราง; ทอฟฟี่.
  20. ลูกอิจฉา : น. ลูกที่เกิดหลังจากพ่อแม่ได้ขอลูกของคนอื่นมาเลี้ยง เป็นลูก.
  21. ลูทีเชียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๑ สัญลักษณ์ Lu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๖๕๒?ซ. (อ. lutetium).
  22. เลก : (โบ) น. ชายฉกรรจ์, พลเมืองชั้นสามัญ, เขียนเป็น เลข ก็มี.
  23. เลขชี้กำลัง : (คณิต) น. จํานวนเต็มหรือจํานวนตรรกยะที่ใช้ยกกําลัง จํานวนจริง เช่น ๗๓ มี ๓ เป็นเลขชี้กําลัง.
  24. เลขลำดับ : น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียง กันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
  25. เล็งผลเลิศ : ก. คาดหวังเฉพาะผลได้หรือผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม.
  26. เลณะ : [เล–] น. ที่แอบ, ที่เร้น, ที่พัก, ที่อาศัย, เขียนเป็น เลนะ ก็มี. (ป.).
  27. เล็ดงา : น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่า เมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม.
  28. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  29. เล่นกล : น. การแสดงที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริง, โดยปริยายหมาย ความว่า หลอกลวงเอา เช่น โดนคนเล่นกลเอาทองเก๊มาแลกกับ ทองจริง.
  30. เล่นกับไฟ : (สำ) ก. ลองดีเสี่ยงกับสิ่งที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  31. เล่นการพนัน : ก. ลักษณะการกระทำที่เสี่ยงต่อการแพ้ชนะหรือ ได้เสียโดยใช้เงินเป็นต้นเป็นเดิมพัน เช่นในการเล่นไพ่เล่นม้า.
  32. เล่นขายของ : (ปาก) ก. ลักษณะการกระทําที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จังเหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขายนิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.
  33. เล่นเงา : ก. ใช้มือบังแสงให้เกิดเงาเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสนุก.
  34. เล่นตลก : ก. หลอกหรือล้ออย่างตลกเพื่อให้หลงเชื่อ เช่น ขอดูแหวน แล้วเล่นตลกสวมนิ้วไปเลย; กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นไม่ซื่อ ก็ว่า.
  35. เล่นตัว : ก. ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ ตามที่มีผู้งอนง้อ หรือขอร้อง เพราะคิดว่าตัวมีดี เช่น ถ้าทำเป็นก็ทำให้หน่อย อย่าเล่นตัว ไปเลย.
  36. เล่นพรรคเล่นพวก, เล่นพวก, เล่นพวกเล่นพ้อง : ก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่ หรือสำคัญ.
  37. เล่นแร่แปรธาตุ : ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็น ทองคําตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยน ของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.
  38. เล่นลิ้น : ก. พูดเป็นสํานวนไม่ตรงไปตรงมา.
  39. เลนส์ : น. วัตถุโปร่งใสซึ่งมีพื้นหน้าเป็นผิวนูนหรือเว้า โดยทั่วไปมักทํา ด้วยแก้ว มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้าหรือถ่างออกได้; (แพทย์) แก้วตา. (อ. lens).
  40. เล่นสวาท : ก. เลี้ยงเด็กชายเป็นลูกสวาท.
  41. เลนส์สัมผัส : น. เลนส์เล็ก ๆ บาง ๆ ใช้ครอบตาดําเพื่อช่วยให้มอง เห็นได้ดีอย่างคนสายตาปรกติ. (อ. contact lens).
  42. เล่นหน้า : ก. แสดงด้วยการทำหน้าให้เป็นลักษณะต่าง ๆ เช่นทำ หน้ายักษ์หน้าคนแก่.
  43. เล็บ : น. สิ่งซึ่งมีลักษณะแข็งอย่างเขาสัตว์อยู่ปลายนิ้ว สําหรับป้องกัน ส่วนของปลายนิ้วหรือหยิบจับเป็นต้น.
  44. เล็บนาง : น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลา ฟ้อนรํา.
  45. เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
  46. เล่ม : ลักษณนามสําหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียว อย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียก เกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่มด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.
  47. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  48. เลยตามเลย : ว. ตามแต่จะเป็นไปเพราะพลาดและล่วงเลยไปแล้ว เช่น เอาเงินเกินไปแล้วก็เลยตามเลย ไม่ขอคืน.
  49. เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
  50. เลศนัย : [เลดไน] น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | [7751-7800] | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9597

(0.2276 sec)