Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นระเบียบ, ระเบียบ, อย่าง, เป็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นระเบียบ, 9597 found, display 9451-9500
  1. อีเทอร์ : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่ง มีสูตรทั่วไปเป็น ROR โดยทั่วไปมักหมายถึง ไดเอทิลอีเทอร์ ซึ่งมีสูตร C2H5OC2H5 ลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๓๔.๖?ซ. ไวไฟมาก ใช้ประโยชน์เป็นยาดมสลบ เป็นตัวทําละลาย และใช้นําไปเตรียม สารเคมีอื่น. (อ. ether).
  2. อีนูน : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อไม้เถามีหัวชนิด Adenia pierrei Gagnep. และชนิด A. viridiflora Craib ในวงศ์ Passifloraceae ขึ้นปกคลุม ต้นไม้ตามป่าทั่วไป ทุกส่วนเป็นพิษ ยอดอ่อนดองแล้วกินได้, นางนูน หรือ ผักสาบ ก็เรียก.
  3. อีโน : (โบ) น. เรียกชามขนาดใหญ่อย่างชามโคมว่า ชามอีโน.
  4. อีลุ่ยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีหลุยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
  5. อีศ : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อีส).
  6. อีส : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อีศ).
  7. อีหรอบเดียวกัน : (สํา) ว. ทํานองเดียวกัน, แบบเดียวกัน, (มักใช้ใน ทางไม่ดี) เช่น พ่อเป็นขโมย ลูกก็อีหรอบเดียวกัน.
  8. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  9. อีหลุยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
  10. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  11. อีแอ่น : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae และ Artamidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดํา ปลายปีกแหลม ใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบแมลง มักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) อีแอ่นตะโพกแดง (H. daurica) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล (Cypsiurus balasiensis) ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นํารัง มากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง (Collocalia fuciphaga หรือ Aerodramus fuciphagus)ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก.
  12. อึ๊ก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงสะอึก.
  13. อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำ อย่างเร็วเป็นต้น.
  14. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  15. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  16. อุจาด : ว. น่าเกลียด, น่าอาย, อย่างที่ไม่ควรทํา.
  17. อุณาโลม : น. ขนระหว่างคิ้ว; เครื่องหมายรูปอย่างนี้ (รูปภาพ อุณาโลม)
  18. อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
  19. อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
  20. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  21. อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป : [อุดตะระ] น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศ เหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. (ป., ส. อุตฺตรกุร + ส. ทวีป).
  22. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
  23. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).
  24. อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
  25. อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
  26. อุตราษาฒ, อุตตราอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ : [อุดตะราสาด, อุดตะรา อาสาด, อุดตะราสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๑ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูป ครุฑหรือช้างพัง, ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตราษาฒ; ป. อุตฺตราสาฬฺห).
  27. อุตริมนุสธรรม : [มะนุดสะทํา] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสําเร็จฌาน สําเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส+ ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).
  28. อุทกวิทยา : น. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุ การเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการ นํานํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).
  29. อุทยานแห่งชาติ : (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวน รักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกา ประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติ.
  30. อุทาหรณ์ : [หอน] น. ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น, สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมา เทียบเคียงเป็นตัวอย่าง. (ป., ส.).
  31. อุ่นหนาฝาคั่ง : ว. มั่นคง, มีหลักฐานเป็นที่พักพิงมั่นคง, เช่น มีฐานะ อุ่นหนาฝาคั่ง; มากมายคับคั่ง เช่น งานนี้มีผู้คนมาอุ่นหนาฝาคั่ง.
  32. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  33. อุบัติเหตุ : น. เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด, ความบังเอิญเป็น.
  34. อุบาทว์ : ว. อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็นมงคล. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
  35. อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
  36. อุบาสก : น. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสก).
  37. อุบาสิกา : น. คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสิกา).
  38. อุเบกขา : น. ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง, ความวางใจเฉยอยู่, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป. อุเปกฺขา).
  39. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  40. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  41. อุปบล : [อุบบน] (แบบ) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. (ป. อุปฺปล).
  42. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  43. อุปโลกน์ : [อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็น หัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
  44. อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
  45. อุปสมบท : [อุปะสมบด, อุบปะสมบด] ก. บวชเป็นภิกษุ. (ป. อุปสมฺปทา).
  46. อุปสมบทกรรม : [บดทะกำ] น. การบวชเป็นภิกษุ.
  47. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  48. อุปสัมปทา : [อุปะสำปะทา, อุบปะสำปะทา] น. การบวชเป็นภิกษุ. (ป., ส.).
  49. อุปสัมปทาเปกข์, อุปสัมปทาเปกษ์ : [อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก] น. ''ผู้เพ่งอุปสมบท'' คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะ ขอบวชเป็นภิกษุต่อไป. (ป. อุปสมฺปทาเปกฺข; ส. อุปสมฺปทาเปกฺษ).
  50. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | [9451-9500] | 9501-9550 | 9551-9597

(0.2230 sec)