Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเป๋านักเรียน, นักเรียน, กระเป๋า , then กรปานกรยน, กระเป๋า, กระเป๋านักเรียน, นักเรียน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเป๋านักเรียน, 96 found, display 51-96
  1. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  2. ระเบียน : น. ทะเบียน, แบบ, เช่น ระเบียนประจำตัวนักเรียน.
  3. ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
  4. ร่างแห : น. สิ่งที่ถักด้วยด้ายเป็นต้น เป็นตาข่ายสําหรับจับปลา, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร่างแหคลุมผม กระเป๋าร่างแห.
  5. ราวี : ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กําลังรังแก เป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.
  6. รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
  7. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  8. เรียงราย : ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบ สนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน.
  9. โรงอาหาร : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น.
  10. ลดชั้น : ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถม ปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
  11. ล้วง : ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิด ที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
  12. ลองภูมิ : [–พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
  13. ล่องหน : ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคํา หายตัว เป็น ล่องหน หายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไป โดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
  14. ล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้ เช่น วางกระเป๋าสตางค์ไว้บนโต๊ะล่อตา ขโมย.
  15. ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
  16. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  17. เลินเล่อ : ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น เด็กคนนี้ เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความ ระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
  18. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  19. ไล่แบบ : ก. ให้นักเรียนท่องบทเรียนตามที่สั่งให้ฟัง เช่น ครูไล่ แบบนักเรียน.
  20. วนเวียน : ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา อยู่หลายรอบ.
  21. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  22. วิ่งราว : ก. แย่งเอาสิ่งของแล้ววิ่งหนีไป เช่น วิ่งราวกระเป๋าถือ.
  23. สมุดรายงาน : น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
  24. สหศึกษา : น. การศึกษาที่ให้นักเรียนชายและหญิงเรียนรวมในสถาน ศึกษาเดียวกัน.
  25. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  26. สะพาย : น. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น สะพายย่าม สะพายกระเป๋า, ตะพาย ก็ว่า.
  27. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  28. หน่วยกิต : [-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึง ได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิต ก็เรียก.
  29. หน้าจ๋อย : ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ.
  30. หมดตูด : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, หมดกระเป๋า หรือ หมดพก ก็ว่า.
  31. หลงเหลือ : ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมี เศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
  32. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  33. หอพัก : น. ที่พักอาศัยสําหรับนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น; (กฎ) สถานที่ที่จัด ขึ้นเพื่อรับผู้พักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก.
  34. หัวกระเด็น : น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง, โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่ หัวกระเด็นทั้งนั้น.
  35. หายหกตกหล่น : (สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่ กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
  36. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  37. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  38. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  39. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  40. อนุศาสก : น. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
  41. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  42. อาราม ๓ : ว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทําการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นําหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
  43. อุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายใจขึ้น, มีความมั่นใจ, ไม่มีกังวล, เช่น มีเงินมากอยู่ในกระเป๋าทำให้อุ่นใจ.
  44. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  45. โอ้เอ้ : น. เรียกการสวดกาพย์ลํานําเป็นทํานองอย่างที่นักเรียนสวดตาม ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.
  46. 1-50 | [51-96]

(0.0701 sec)