Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงทุ้ม, เสียง, ทุ้ม , then ทม, ทุ้ม, สยง, เสียง, เสียงทุ้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงทุ้ม, 985 found, display 301-350
  1. งึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ; (ถิ่น-อีสาน) ซึม.
  2. งึมงำ : ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา.
  3. งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ : น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำ ซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลา เขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไป จนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีก ครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
  4. เงียบ : ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่ แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
  5. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  6. เงียบเชียบ : ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง.
  7. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  8. แง ๒, แง ๆ : ว. เสียงเด็กร้องไห้.
  9. แง่ง ๒, แง่ง ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น.
  10. จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  11. จบเห่ : (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ.
  12. จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
  13. จวด : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้าง มีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัดมน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประ บนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้.
  14. จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  15. จ๊อก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า.
  16. จ้อก, จ้อก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา.
  17. จ้อกแจ้ก : ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์.
  18. จ้องหน่อง : น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
  19. จอแจ : ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที.
  20. จ๋อแจ๋ : ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด.
  21. จ๋ะ ๑ : ว. เสียงประกอบคําถาม.
  22. จ๋ะ ๒ : ว. เสียงประกอบคําเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคํา จ๋า).
  23. จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
  24. จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
  25. จะจ้า : ว. เสียงร้องไห้.
  26. จั้ก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงฝนตกแรง.
  27. จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
  28. จ้า : ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.
  29. จาว ๖ : ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  30. จิ้งหรีด : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลําตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้าง ของลําตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็น ชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับ ทําเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทํา เสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดํา (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก. จิ้งหรีดผี ดู แอ้ด.
  31. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  32. จุ ๒, จุ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือนเป็นต้น.
  33. จุ๊กกรู๊ : ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า.
  34. จุ๋งจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า.
  35. จุ๊บ ๑ : ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. ก. (ปาก) จูบ, ดูด.
  36. จุปาก : ก. ทำเสียงด้วยปากดังจุ ๆ.
  37. เจี๊ยบ ๒ : น. เรียกลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกเจี๊ยบ. ว. เสียงร้องของลูกเจี๊ยบ.
  38. เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
  39. เจี๊ยวจ๊าว : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมาก เป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อ ให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
  40. เจื้อยแจ้ว : ว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ.
  41. แจ๋ว : ว. มีเสียงดังกังวานแจ่มชัด, ใสมาก เช่น นํ้าใสแจ๋ว; (ปาก) ดีเยี่ยม เช่น ปาฐกถาวันนี้แจ๋ว.
  42. แจ้ว, แจ้ว ๆ : ว. มีเสียงแจ่มใส เช่น ไก่ขันแจ้ว, มีเสียงดังติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น พูดแจ้ว ๆ.
  43. แจะ ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคี้ยวหมากแจะ ๆ.
  44. โจ๊ก ๒ : ว. มีนํ้ามากเกินส่วน (ใช้แก่นํ้าแกง) เช่น น้ำแกงใสโจ๊ก; เสียงดัง อย่างเสียงนํ้าไหล.
  45. โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
  46. ฉะฉาด : (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน.
  47. ฉะฉี่ : (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดน้ำมัน.
  48. ฉับ, ฉับ ๆ : ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดัง เช่นนั้น.
  49. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  50. ฉ่าง : ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้ สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-985

(0.1200 sec)