Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงทุ้ม, เสียง, ทุ้ม , then ทม, ทุ้ม, สยง, เสียง, เสียงทุ้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงทุ้ม, 985 found, display 651-700
  1. เยอว : คําต้นเสียงสําหรับบอกจังหวะพายเรือ.
  2. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  3. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  4. รณ, รณ– : [รน, รนนะ–] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
  5. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  6. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  7. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  8. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  9. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  10. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  11. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  12. ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
  13. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  14. ร้อยแก้ว : น. ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและ ความหมาย.
  15. ระฆัง : น. เครื่องใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ หล่อด้วยทองเหลืองเป็นต้น รูปคล้ายลูกฟักตัด มีหูติดอยู่ตอนบน.
  16. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  17. ระทึง : ว. เสียงหึ่ง ๆ อย่างเสียงผึ้ง.
  18. ระนาด ๑ : น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัว ท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้น ยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
  19. ระนาดแก้ว : น. ระนาดที่ลูกทําด้วยแก้ววางเรียงบนรางระนาดซึ่งมีรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับพื้น มีไม้ประกับหัวท้าย มีทั้งระนาดแก้วทุ้ม และระนาดแก้วเอก ระนาดแก้วทุ้มไม้ตีใช้ไม้นวม ระนาดแก้วเอก ใช้ไม้ตีที่มีลูกทำด้วยหนัง.
  20. ระบือ : ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือ ไปไกล.
  21. ระรัว : ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว.
  22. ระวังไพร, ระวังวัน : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และ ท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลง ตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง (Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos), ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.
  23. รัก ๒ : ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
  24. รักษายี่ห้อ : (ปาก) ก. ระวังไม่ให้เสียชื่อเสียง.
  25. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  26. รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  27. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  28. รัสสระ : [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).
  29. ราชาโชค : (โหร) น. ชื่อตําแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศ ชื่อเสียงการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิด หรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของ ขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  30. ราชาฤกษ์ : (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปราน ของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  31. รามสูร : [รามมะสูน] น. ชื่อยักษ์ตนหนึ่งตามเทพนิยายของอินเดีย เชื่อกันว่าเสียง ฟ้าร้องเป็นเสียงรามสูรขว้างขวาน.
  32. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  33. รี้ริก : ว. เสียงหัวเราะเมื่อถูกหยอก.
  34. รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  35. รุต : น. เสียง, เสียงร้อง, เสียงสัตว์. (ป., ส.).
  36. รูปพยัญชนะ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, พยัญชนะ ก็เรียก.
  37. รูปสระ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.
  38. เรไร ๑ : น. ชื่อจักจั่นสีนํ้าตาลหลายชนิดในสกุล Pomponia, Tosena และสกุล อื่น ๆ ในวงศ์ Cicadidae ส่วนใหญ่ตัวค่อนข้างโต ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษ ทําให้เกิดเสียงสูงและตํ่ามีกังวานสลับกันไปได้หลายระดับ ชนิดที่โต ที่สุดซึ่งพบได้ง่ายในประเทศไทย คือ ชนิด P. intermedia.
  39. เรอ : ก. อาการที่ลมในกระเพาะพุ่งออกทางปาก มักมีเสียงดังออกมาด้วย.
  40. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  41. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  42. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  43. เรืองนาม : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง.
  44. แรด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์ กีบคี่ มี ๓ นิ้ว ขาสั้น ตาเล็ก หูตั้ง ประสาทรับฟังเสียงและดมกลิ่นดีมาก หนังหนา มีทั้งชนิดนอเดียวและ ๒ นอ กินพืช นอนปลัก ในประเทศไทย มี ๒ ชนิด คือ แรดนอเดียว ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า แรด (Rhinoceros sondaicus) และกระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis) ซึ่งมี ๒ นอ.
  45. ฤ ๑ : [รึ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนํามาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์.
  46. ฤๅ ๑ : [รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนํามาใช้ ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี.
  47. ล้งเล้ง : (ปาก) ก. ต่อว่าหรือดุว่าด้วยเสียงเอ็ดอึง เช่น ฉันทำแก้วแตกเขามา
  48. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  49. ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  50. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-985

(0.1123 sec)