Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 101-150
  1. กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
  2. กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  3. เกศา : (กลอน) น. หัว; ผม.
  4. เกศี : (กลอน) น. หัว; ผม.
  5. โกญจา : (กลอน) น. นกกระเรียน เช่น แขกเต้าดุเหว่าแก้ว โกญจา. (โลกนิติ). (ป.).
  6. ข้องขัด : (กลอน) ก. ขัดข้อง, ติดขัด.
  7. ขานไข : (กลอน) ก. กล่าวชี้แจง.
  8. ขาม ๒ : (กลอน) น. มะขาม.
  9. ข่ำเขียว : (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
  10. ขู : (กลอน) ว. มาก. (เลือนมาจาก โข).
  11. เขือ ๒ : (กลอน) น. เพื่อน.
  12. เขือ ๓ : (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
  13. คงคาลัย : (กลอน) น. แม่นํ้า, นํ้า, น่านนํ้า.
  14. คฤหา : (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่านนะพ่อ. (โลกนิติ).
  15. ค้อย : (กลอน) ก. คล้อย. ว. เบา; เนือง, บ่อย.
  16. ค้อยค้อย : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  17. คะค้อย : (กลอน) ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อย ไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร. (ตะเลงพ่าย).
  18. คะคึง : (กลอน) ว. ดังสนั่น.
  19. คำนัล : (กลอน) ก. เฝ้าเจ้านาย. (ข. คํนาล่).
  20. เครงเครียว : (กลอน) ว. ครื้นเครง, เกรียวกราว, เช่น หฤทัยเครงเครียว. (จารึกวัดโพธิ์).
  21. เคียม : (กลอน) ก. ไหว้, คํานับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสํานักจอมจักรนักไทธรรม. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ถิ่น–อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
  22. เคื้อ ๑ : (กลอน) ว. งาม, โดยมากเป็น อะเคื้อ.
  23. ง่าน ๒ : (กลอน) ก. งุ่นง่าน เช่น มารดาเห็นบุตรเงื้อ ง่านใจ. (นิทราชาคริต).
  24. งามแงะ : (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะ ว่าเล่นหรือว่าจริง.(สังข์ทอง).
  25. จ่ง : (กลอน) ว. จง.
  26. จตุรมุข : (กลอน) น. ''ผู้มี ๔ หน้า'' คือ พระพรหม.
  27. จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
  28. จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
  29. จะแจ่ม : (กลอน) ว. แจ่ม, ใส, กระจ่าง, ชัดเจน, ไม่มัว.
  30. จังกวด ๒ : (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
  31. จาบ ๒ : (กลอน) น. นกกระจาบ เช่น มีกุโงกกุงานแลกุงอน นกจิบจาบซอบ. (สมุทรโฆษ).
  32. จำทวย ๒ : (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรํา, เช่น จําทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).
  33. จำทาบ : (กลอน) ก. จับ, ถือ.
  34. จำราญ : (กลอน) ก. หัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
  35. จำราย : (กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจํารายศักดิ์ โสภิต. (ทวาทศมาส).
  36. จิบ ๓ : (กลอน) น. นกกระจิบ.
  37. จุรี : (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ. (ข. จรี ว่า มีด, หอก, ดาบ).
  38. โจษจน, โจษแจ : (กลอน) ก. พูดอึง, เล่าลือกันอื้ออึง.
  39. ไจ้ ๆ : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า.
  40. ฉวยฉาบ : (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
  41. ฉะฉาด : (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน.
  42. ฉะฉ่ำ : (กลอน) ว. ฉ่า, ชุ่มชื้น.
  43. ฉะฉี่ : (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดน้ำมัน.
  44. ฉะเฉื่อย : (กลอน) ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน.
  45. ฉันทา : (กลอน) ก. ลําเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
  46. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  47. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  48. ฉิน ๒ : (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัด อรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
  49. เฉิดฉัน, เฉิดฉิน : (กลอน) ว. งาม, เพริศพริ้ง.
  50. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-987

(0.0354 sec)