Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 351-400
  1. เลียว ๑ : (กลอน) ว. แล้ว เช่น ชิสาท่านกุํลยว ลาญชีพ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  2. โลกา : (กลอน) น. โลก. โ
  3. ไลลา : (กลอน) ก. ไปมา, เยื้องกราย.
  4. วงศา : (กลอน) น. วงศ์.
  5. วนา : (กลอน) น. ป่า. (ป., ส. วน).
  6. เวหน : (กลอน) น. ฟ้า.
  7. เวี่ย : (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ยว ก็ว่า.
  8. เวี่ยว : (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ย ก็ว่า.
  9. ศรศิลป์ไม่กินกัน : (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศร
  10. สกุณา, สกุณี : (กลอน) น. นก.
  11. ส้อง : (กลอน) น. ซ่อง, ประชุม.
  12. สะทึน, สะทึ่น : (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ).
  13. สันรวง : (กลอน) น. สรวง.
  14. สาชล : (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง สวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
  15. ห่างเห : (กลอน) ว. จากไป, พรากไป, เช่น นิราศร้างห่างเหเสนหา ปาง อิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา. (นิ. อิเหนา).
  16. หืน ๒ : (กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน๔หิน-).
  17. หือรือโหด : (กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติ ทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  18. เห็จ : (กลอน) ก. เหาะ, ไปในอากาศ, เช่น รณบุตรเห็จเข้าโจมฟัน รณาภิมุขผัน หฤทัยเสาะสุดแรง. (สมุทรโฆษ). ว. เร็ว, เลือนมาจาก ระเห็จ.
  19. โหรา ๑ : (กลอน) น. โหร.
  20. ไหมหน้า : (กลอน) ก. หมายหน้า, ตราหน้า, เช่น ไหมหน้าว่าเบียนเมือง ข้าคิดเปลื้อง ทานทำแห่งหอคำข้าดอก. (ม. ร่ายยาว).
  21. อกเมือง : (กลอน) น. ส่วนสําคัญของเมือง.
  22. อมรา : (กลอน) น. อมร.
  23. อสุรา, อสุรี, อสุเรศ : (กลอน) น. อสูร, ยักษ์. (ป.).
  24. อ่อนไท้ : (กลอน) น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียก นางกษัตริย์) เช่น จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้. (ลอ), ใช้ว่า อรไท ก็มี.
  25. อ่อนหู : (กลอน) ก. ยอมเชื่อฟัง เช่น แต่คิดแค้นแม่ยายกับพ่อตา จะทรมาเสียก่อนให้อ่อนหู. (สังข์ทอง).
  26. อะคร้าว : (กลอน) ว. ยิ่ง; อิ่มใจ, ภูมิใจ, เช่น ทิศตะวันตกไท้ท้าว อะคร้าว ครอบครองยศ. (ลอ).
  27. อะเคื้อ : (กลอน) ว. งาม เช่น ถนัดดั่งเรียมเห็นองค์ อะเคื้อ. (ลอ).
  28. อะดุง : (กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุง อะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).
  29. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  30. อา ๒ : (กลอน) ว. คําออกเสียงท้ายคําพูดในความรําพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
  31. อ่าองค์ : (กลอน) ก. แต่งตัว เช่น ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์ บรรจง ทรงเครื่องวันอาทิตย์. (อิเหนา).
  32. อำนนต์ : (กลอน) ว. อนันต์, ไม่มีที่สุด, มากล้น. (แผลงมาจาก อนนต์).
  33. อุก ๒ : (กลอน) ก. หักหาญด้วยพลการ, บังอาจ, เช่น ทำอุกสนุกเสน่หา สองราช.
  34. อุกคลุก : (กลอน) ก. เข้ารบคลุกคลีประชิดตัว, อุตลุด, เช่น อุกคลุก พลุก เงยงัด คอคช เศิกแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  35. อุยหน่า, อุ่ยหน่า : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บเช่น ถูกหยิก.
  36. อุไร : (กลอน) น. ทองคํา.
  37. อุเหม่ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, เหม่ หรือ เหม่ ๆ ก็ว่า.
  38. เอื้อนอรรถ, เอื้อนเอ่ย, เอื้อนโอฐ ๒ : (กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออก มาง่าย ๆ.
  39. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  40. โอหนอ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงความรําพึงในเวลาดีใจหรือ เสียใจ.
  41. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  42. กชกร : [กดชะกอน] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
  43. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  44. กเบนทร์ : [กะ-] (กลอน) ดู กบินทร์.
  45. กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
  46. กมลาศ : [กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).
  47. กมเลศ : [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์ สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ใน สันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
  48. กรกช : [กอระกด] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  49. กรม ๕ : [กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคําว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกํานนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
  50. กรรเกด : [กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์. (ทวาทศมาส).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-987

(0.0509 sec)