Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 451-500
  1. กฤตยา ๑ : [กฺริดตะ-] (โบ; กลอน) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ. (ตะเลงพ่าย).
  2. กฤษฎา ๒, กฤษฎาภินิหาร : [กฺริดสะ-] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  3. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  4. กฤษฎี : [กฺริดสะดี] (แบบ; กลอน) น. รูป เช่น พระอินทราธิราชแปรกฤษฎี. (สมุทรโฆษ). (ส. อากฺฤติ = รูป).
  5. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  6. กลมภะ : [กะลมพะ] (กลอน) ว. หลายอย่างรวมกัน เช่น จําหลักจําหลอกกลม- ภบังอวจจําหลักกราย. (สมุทรโฆษ). (ทมิฬ กลมฺป).
  7. กลหาย : [กะละ-] (โบ; กลอน) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  8. กล่า : [กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คําหลวง ชูชก).
  9. กลากลาด : [กฺลากฺลาด] (กลอน) ว. มากหลาย, เกลื่อนกล่น, เช่น มากลากลาดกันแดน. (ลอ).
  10. กลางค่ำ : (โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
  11. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  12. กล่ำ ๓ : [กะหฺล่ำ] (โบ; กลอน) ใช้เข้าคู่กับคํา กระเลือก หมายความว่า กลอกไปกลอกมา.
  13. กลิ่ง : [กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว. (ม. คําหลวง ทศพร).
  14. กลู่ : [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  15. กวะ : [กะวะ] (กลอน) ว. (ราว)-กะว่า, (ราว)-กับว่า, เช่น นกกระจอกทํารังราวกวะไม้. (จารึกวัดโพธิ์).
  16. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  17. กษณะ : [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ).
  18. กษัตรา : [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน.
  19. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  20. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  21. กษัตรีย์ : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  22. กษัตรีศูร : [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร).
  23. กษีรารณพ : [กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว). ดู กษีร-, กษีระ.ดู กษีร-, กษีระ. [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. [กะ-] น. การทํานา, การเพาะปลูก. (ป.).
  24. กสานติ์ : [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
  25. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  26. กเฬวราก : [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง).
  27. กะตรุด : [-ตฺรุด] (กลอน) น. ตะกรุด เช่น พระกะตรุดเลศเลขลง เลิศแล้ว. (พยุหยาตรา), กะตุด ก็ใช้.
  28. กับบุเรศ : [-เรด] (แบบ; กลอน) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน). (ป. กปฺปุร).
  29. กัษณ : [กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  30. กำพร้า ๒ : [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
  31. กำลอง : (โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).
  32. กิจจา : [กิด-] (กลอน) น. เรื่องราว, ข้อความ.
  33. กินริน, กินรี : [กินนะริน, กินนะรี] (กลอน) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  34. กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
  35. กุฎ, กุฎา : [กุด, กุดา] (กลอน) น. ยอด เช่น มัชฌิมากุฎาประมาณ. (สมุทรโฆษ). (ป., ส. กูฏ).
  36. กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  37. เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).
  38. แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
  39. โกเชาว์ : (แบบ; กลอน) น. ผ้าทําด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกําราล กาฬโกเชาว์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกชว).
  40. โกญจนะ : [โกนจะนะ] (กลอน) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
  41. โกปินำ : (โบ; กลอน) น. ผ้าปิดของลับ เช่น แล้วเกี่ยวรัดโกปินํา. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. โกปิน).
  42. โกรญจ : [โกฺรนจะ] (กลอน) น. โกญจ, นกกระเรียน, เช่น กาโกรญจโกกิล. (สมุทรโฆษ).
  43. โกรธา : [โกฺร-] (กลอน) ก. โกรธ.
  44. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  45. โกษ ๒ : [โกด] (โบ; กลอน) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส. โกฺษณิ).
  46. ไกพัล : [ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  47. ไกรศร, ไกรสร : [ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอน กาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).
  48. ไกรสิทธิ : [ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คําหลวง มัทรี).
  49. ขวะไขว่เขวี่ย : [ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย] (กลอน) ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  50. ขษีณาศรพ : [ขะสีนาสบ] (โบ; กลอน) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกร ขษีณาศรพทั้งหลาย. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-987

(0.0364 sec)