Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 551-600
  1. จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  2. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  3. จรลี : [จอระ-] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย.
  4. จรลู่ : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
  5. จรวัก : [จะระหฺวัก] (กลอน) น. ตวัก.
  6. จรอก ๑ : [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้าย โดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
  7. จรอก ๒ : [จะหฺรอก] (กลอน) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอก คันธรสจุณจันทน์. (สุธนู).
  8. จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  9. จระขาบ : [จะระ-] (กลอน) น. ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี.
  10. จระคลับ : [จะระคฺลับ] (กลอน) ว. มืด, ครึ้ม.
  11. จระคล้าย : [จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
  12. จระคลุ่ม : [จะระคฺลุ่ม] (กลอน) ว. มืดมัว, คลุ้ม.
  13. จระแคง : [จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
  14. จระจุ่ม : [จะระ-] (กลอน) ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน.
  15. จระทก, จระเทิน : [จะระทก, -เทิน] (กลอน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. (ดุษฎีสังเวย).
  16. จระบาน : [จะระ-] (กลอน) ก. สู้รบ.
  17. จระลิ่ง, จระลึง : [จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
  18. จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  19. จรัล : [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
  20. จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  21. จราญ : [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
  22. จราย : [จะ-] (กลอน) ก. ทําลาย, กระจาย.
  23. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  24. จริก ๑ : [จะหฺริก] (กลอน) ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก).
  25. จริก ๒ : [จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  26. จริว ๒ : [จะ-] (กลอน) ว. เกรียว.
  27. จรี : [จะ-] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหาก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.).
  28. จรึง : [จะ-] (กลอน) ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. (ดุษฎีสังเวย).
  29. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  30. จรูญ : [จะรูน] (กลอน) ว. รุ่งเรือง, งาม.
  31. จลนี ๑ : [จะ-] (กลอน) น. เนื้อสมัน. (ป.).
  32. จลนี ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
  33. จอด : ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).
  34. จังเว็จ : [จังเหฺว็ด] (กลอน) น. เจว็ด.
  35. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  36. จำนรรจ์, จำนรรจา : [-นัน, -นันจา] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
  37. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  38. จำนับ : [จําหฺนับ] (กลอน) ก. จับ, อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจน กําไว้ยึดไว้, ใช้ จําหนับ ก็มี.
  39. จำรด : [-หฺรด] (กลอน) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
  40. จำเลย : น. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย, ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
  41. จำหลอก : [-หฺลอก] (กลอน) ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็น ลวดลาย, เช่น จําหลักจําหลอกกลม ภบังอวจจําหลักราย. (สมุทรโฆษ).
  42. แจรก : [แจฺรก] (กลอน) ก. แจก, แตกออก, กระจายออก, แยกออก.
  43. แจรง : [แจฺรง] (กลอน) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งาม เงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
  44. ไจร : [ไจฺร] (กลอน) จร, จากไป, เช่น แลเอกจักร เจียรไจร. (สมุทรโฆษ).
  45. ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
  46. ฉมวย : [ฉะหฺมวย] (กลอน) ก. ฉวย, จับ; ได้. ว. แม่น, ขลัง.
  47. ฉลับ : [ฉะหฺลับ] (กลอน) ก. สลับ เช่น แล่นลล้าวฉลับพล. (สมุทรโฆษ).
  48. ฉลีก : [ฉะหฺลีก] (กลอน) ก. ฉีก, ทําให้ขาดจากกัน; แยกออกจากกัน.
  49. ชกา : [ชะ] (กลอน) น. นกสาลิกา. (กล่อมช้างของเก่า).
  50. ชทึง : [ชะ] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศ พระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึงชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-987

(0.0572 sec)