Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกลื้อน , then กลอน, เกลื้อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกลื้อน, 987 found, display 951-987
  1. บรรสม : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสม) ก. รวมกันเข้า, ปน, ระคน, เจือ.
  2. บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
  3. บรรสาร : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาร) ก. คลี่ออก.
  4. บรรหาร : [บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.
  5. เบือ ๑ : ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่กริยาตาย) ในคําว่า ตายเป็นเบือ คือ ตาย เกลื่อน กลาดไปเหมือนถูกยาเบื่อ.
  6. ปฏิภาณกวี : [ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความ สามารถในการใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
  7. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  8. แป : น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
  9. แผด ๒ : [ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).
  10. เพลงยาว : น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดง ข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
  11. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  12. มะม่วง ๑ : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
  13. ไม้ระแนง : น. ไม้สี่เหลี่ยม หน้า ๑ นิ้ว ใช้ตีข้างบนกลอนหรือจันทัน สำหรับมุงหลังคา.
  14. ยกเก็จ : ก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ.
  15. ย่อเก็จ : ก. ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ.
  16. โยนกลอน : ก. ขึ้นต้นกลอนแล้วโยนให้คนอื่นแต่งต่อ.
  17. รส : น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  18. ร้องสด : ก. ร้องโดยไม่มีดนตรีรับ, ร้องโดยคิดกลอนด้นหรือกลอนสด, ร้องออกอากาศทันที.
  19. ระแนง : น. ไม้สี่เหลี่ยมขนาดยาว หน้า ๑'' x ๑'' ใช้ตีทับบนกลอนหรือจันทัน สําหรับมุงกระเบื้องหรือตีทับคร่าวเพื่อทํารั้ว หรือทําแผงพรางแดด สําหรับเรือนกล้วยไม้. ก. เรียง; ร่อน เช่น เอาแป้งมาระแนงให้เป็นผง. (ขุนช้างขุนแผน). (ข. แรง ว่า ร่อน).
  20. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  21. ลงกลอน : ก. ใส่กลอน, เดิมหมายถึงใส่กลอนล่าง.
  22. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  23. ลังคิ, ลังคี : น. กลอน, ลิ่ม, เครื่องกีดขวาง. (ป.).
  24. ลั่นดาล : ก. ลงสลัก, ขัดกลอน.
  25. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  26. สลัก ๑ : [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้น หรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อน หรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.
  27. สลักเพชร : น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบ เรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และ เดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอด เดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัด แน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรง ตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้.
  28. สะพานหนู : น. ไม้กระดานเล็กตรึงทับบนไม้เชิงกลอน, ตะพานหนู ก็ว่า.
  29. สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
  30. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  31. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  32. อนุบท : น. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).
  33. อยู่อัตรา : (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติ อยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
  34. อัตรา : [อัดตฺรา] น. ระดับที่กําหนดไว้, จํานวนที่จํากัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจําตามกําหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติ ร. ๓).
  35. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  36. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  37. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-987]

(0.0498 sec)