กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
ข่มเหง : [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก : (สํา) น. ประเทศหรือคนที่มีอํานาจหรือผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย.
จิกหัว : ก. เอามือขยุ้มผมแล้วรั้งไป; บังคับให้พุ่งไป เช่น เครื่องบินจิกหัวลง; กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้.
ย่ำยี : ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
คะเนงร้าย : ใช้เข้าคู่กับคํา ข่มเหง เป็น ข่มเหงคะเนงร้าย.
ข่มขี่ : ก. กดขี่.
บีบบังคับ : ก. กดขี่.
ประสัยห-, ประสัยห์ : [ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
ปสัยห-, ปสัยหะ : [ปะไสหะ] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ป.).
เหง : [เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ข่ม เป็น ข่มเหง.
กุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กําลังหรืออํานาจทําให้เดือดร้อน, คุมเหง ก็ว่า.
คุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า.
รามา : (ปาก) ก. ข่มเหง, รบกวน, เช่น พอเมาเหล้าก็ชอบรามาชาวบ้าน.
-กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
ประสัยหาวหาร : [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
ปลดแอก : ก. ทําให้พ้นจากอํานาจหรือการกดขี่, ทําให้เป็นอิสระ.
ปสัยหาการ : น. การข่มเหง. (ป.).
ปสัยหาวหาร : [-หาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
แอก : น. ไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน เป็นต้น; โดยปริยายหมายถึงการถูกกดขี่ ในคำว่า ปลดแอก.