กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
กรด ๒ : [กฺรด] ว. คมมีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้ เช่น น้ำกรด = น้ำที่คม ลมกรด = ลมที่คม.
กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
กรด ๔ : [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือน คนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
กรด ๕ : [กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
ลูกกรด : น. ชื่อปืนชนิดที่ใช้กระสุนลูกกรด; ชื่อกระสุนชนิดหนึ่ง เล็กกว่ากระสุนทั่ว ๆ ไป ปลอกทำด้วยโลหะ หัวกระสุนทำด้วย ตะกั่ว มีลูกปรายและดินปืนอยู่ข้างใน มีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก.
กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
กระดี่ ๒ : น. ชื่อกบสําหรับไสไม้ทําเป็นร่อง เรียกว่า กบกระดี่.
กระดี่ ๓ : น. ชื่อหม้อดินเผาขนาดใหญ่ ปากกว้าง มีขีดเป็นรอยโดยรอบ ใช้เป็นหม้อแกง เรียกว่า หม้อกระดี่.
แก่แรด : ว. จัดจ้านเกินอายุ, แก่เกินอายุ, แก่มาก.
กระจับบก : น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าต่าตามที่น้ำท่วม มักขึ้นปะปนกับ เถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่ใกล้หรือติดกับ ก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูปสามเหลี่ยม ไม้ใช้ทําฟืน. (พจน. ๒๔๙๓).
กระเดิด ๑ :
(ถิ่น-อีสาน) น. ปลากระดี่. (ดู กระดี่๑).
กริช : [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.
กรีด ๑ :
[กฺรีด] (ถิ่น) น. เครื่องจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง. (ดู กราด๓).
กรีด ๒ : [กฺรีด] ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ.
กรีด ๓ : [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
กรีด ๔ : [กฺรีด] ว. อาการที่ร้องเสียงแหลม. ก. ร้องเสียงแหลม เช่น กรีดร้อง กรีดเสียง.
กรูด ๑ : [กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
กรูด ๒ : [กฺรูด] ว. เสียงอย่างเสียงที่ลากของหนักถูไปกับพื้น; อาการที่ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบหรืออย่างตั้งตัวไม่ติด ในคําว่า ถอยกรูด.
กรูด ๓ : [กฺรูด] น. โรคหูด.
กฤช : [กฺริด] (โบ) น. กริช.
การกลั่นทำลาย : น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์ โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลาย ขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
เกร็ด ๑ : [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
เกลือกรด : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปร สภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
เกลือปรกติ : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่ แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
เกลือยูเรต : น. เกลือของกรดยูริก.
เกาต์ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป เป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทําให้มี อาการบวมและปวด. (อ. gout).
แกรนิต : [แกฺร-] น. หินอัคนีชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหินเขี้ยวหนุมาน หินฟันม้า และแร่กลีบหินเป็นส่วนใหญ่ มีหลายสี ขัดให้เป็นเงาได้ กรดไม่กัด แข็งและทนทานมาก. (อ. granite).
แกระ ๑ : [แกฺระ] น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสําหรับตัดรวงข้าว ใช้ทางปักษ์ใต้. ก. ตัด, แทง, เช่น กฤชกรดแกระทรวง. (ขุนช้างขุนแผน).
โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
โกรศ : [โกฺรด] น. เสียงร้อง; มาตราวัด เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู. (ส.).
คาร์บอเนต : น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).
คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
เจือจาง : ว. ไม่เข้มข้น, เข้มข้นน้อยลงเพราะเติมตัวทําละลายเช่นนํ้า เพิ่มลงไป, มีตัวทําละลายมาก มีตัวถูกละลายน้อย เช่น สารละลาย กรดเจือจาง, (ใช้แก่สารละลาย).
ซัลฟา : น. ชื่อยาประเภทหนึ่ง เป็นสารอินทรียสังเคราะห์ ประเภทอนุพันธ์ ของกรดซัลฟานิลิก เช่น ซัลฟาไดอะซีน ซัลฟากัวนิดีน มีสมบัติ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. (อ. sulpha).
ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
น้ำกรด : น. สารละลายของกรดซึ่งใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย.
น้ำส้มสายชู : น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. น้ำสังข์
นิวคลิอิก : น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่ง เรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียก ย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและ ถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
เบส : (เคมี) น. สารเคมีซึ่งทําปฏิกิริยากับกรด แล้วให้ผลเป็นเกลือหรือ เกลือกับนํ้าเท่านั้น, สารเคมีที่มีสมบัติรับโปรตอนมาจากสารอื่น ได้, สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายอิเล็กตรอนคู่หนึ่งให้แก่สารอื่นได้, สารเคมีซึ่งเมื่อละลายนํ้าแล้วให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-), สารละลายที่เปลี่ยนสีลิตมัสสีแดงเป็นสีนํ้าเงินได้. (อ. base).
โปรตีน : [โปฺร-] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุล ขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อ สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein).
พักตรากฤติ : [กฺริด] น. โฉมหน้า เช่น พักตรากฤติอันบริสุท ธิพบูและโสภา. (สมุทรโฆษ). (ส. พกฺตฺร + อากฺฤติ).
มดแดง : น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
ยูริก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C5H4N4O3 ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีปรากฏอยู่เป็นจํานวนน้อยในปัสสาวะและใน โลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ คือมีอาการบวมปวดบริเวณข้อกระดูก จะ ปรากฏมีเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของกรดนี้เกาะอยู่ที่ข้อกระดูก นั้น ๆ เรียกว่า กรดยูริก.