Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กรรตุการก, กรรตุ, การก , then กตฺตุ, กตฺตุการก, กรรตการก, กรรตุ, กรรตุการก, การก, การกะ, การกา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กรรตุการก, 71 found, display 1-50
  1. กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
  2. การก : [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และ วิเศษณการก. (ป., ส.).
  3. วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  4. กรรตุ, กรรตุ- : [กัด, กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทํา. (ป. กตฺตุ; ส. กรฺตฺฤ).
  5. กรรตุวาจก : [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการก คือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทํา หน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
  6. กรรตุสัญญา : [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม, ชื่อ).
  7. กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
  8. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  9. วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  10. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  11. กฎศีลธรรม : น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.
  12. กฐินัตถารกรรม : [กะถินัดถาระกํา] น. การกรานกฐิน. (ป. ก??น + อตฺถาร + ส. กรฺม).
  13. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  14. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  15. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  16. กระทำโดยเจตนา : (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็ง เห็นผลของการกระทำนั้น.
  17. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  18. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  19. กันชน : น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและ ด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
  20. ขย้ำ : [ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วย วาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
  21. ขอเดชะ : น. คําขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ.
  22. ขอที, ขอเสียที : ก. ห้ามเชิงขอร้อง, ขอให้ละเว้นการกระทำ.
  23. ขอบิณฑบาต : ก. ขอให้ละเว้นการกระทำ.
  24. ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
  25. คร่ำ ๑ : [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  26. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  27. ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  28. คู่สวด : น. พระ ๒ รูปที่ทําหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือ การกรานกฐินเป็นต้น.
  29. ชันสน : น. ของแข็งลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอําพัน ได้จาก การกลั่นยางสน. (ดู ยางสน ที่ ยาง๓ประกอบ).
  30. ใช้กำลังประทุษร้าย : (กฎ) ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือ จิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธี อื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน.
  31. ดิ่งพสุธา : น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.
  32. ทุรศีลธรรม : น. การกระทำผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน. (อ. immoral).
  33. โทร- : [โทระ-] ว. คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล. โทรคมนาคม [-คะมะ-, -คมมะ-] น. การส่ง การกระจาย หรือการ รับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทําให้เข้าใจ ด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบสายวิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็ก ไฟฟ้าอื่น ๆ. (อ. telecommunication).
  34. นมัสการ : [นะมัดสะกาน] น. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบ ไหว้; คําที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).
  35. นวม ๑ : น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
  36. น้ำคร่ำ : น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  37. น้ำมันสน : น. นํ้ามันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นยางสนเขา.
  38. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  39. เบญจางคประดิษฐ์ : น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้น.
  40. ประชากรศาสตร์ : น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวม ทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  41. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  42. ปุ๋ยหมัก : น. ปุ๋ยที่ได้จากนำเศษอินทรียวัสดุมากองสุมไว้ รดน้ำ ให้ชื้นและทิ้งไว้ให้เกิดการสลายตัวโดยการกระทำของจุลินทรีย์ อาจผสมสารเคมีเข้าไปด้วยเพื่อให้มีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นหรือให้ อินทรียวัสดุสลายตัวเร็วขึ้น.
  43. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  44. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  45. พลการ : [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  46. ภุชสมโภค : [พุชะสมโพก] น. การสวมกอด, การกอดรัด. (ส.).
  47. ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  48. มดยอบ : น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือก หรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทํายา แต่งกลิ่น เครื่องสําอางและใช้ในพิธีทางศาสนา.
  49. มโนกรรม : น. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
  50. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  51. [1-50] | 51-71

(0.1238 sec)