กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
การก : [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และ วิเศษณการก. (ป., ส.).
กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
กรรม ๒, กรรม- ๒ : [กํา, กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทํา เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรม ของกริยา กิน.
กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
กรรมวิบาก : [กํามะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).
กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
กรรมคติ : [กํามะคะติ] น. ทางดําเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).
กรรมวาจา : [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).
กรรมการิณี : [กํามะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
กรรมศาลา : [กํามะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).
อุปโยคบุรพบท : [อุปะโยคะบุบพะบด, บุระพะบด] น. ในไวยากรณ์ หมายถึงคํานําหน้ากรรมการก.
ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
นิคหกรรม : น. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
กฎแห่งกรรม : น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
เจ้ากรรมนายเวร : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
ใช้กรรม : ก. ชดใช้กรรมที่ได้ทําไว้.
นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
วิษณุกรรม : น. พระวิศวกรรม, วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
หมดกรรม, หมดกรรมหมดเวร, หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุด ในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
จีวรกรรม : (แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
ภัณฑูกรรม : น. การปลงผม. (ป. ภณฺฑุกมฺม).
ศุจิกรรม : น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
อกุศลกรรม : [อะกุสนละกํา] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).
ก่อกรรมทำเข็ญ : ก. ก่อความเดือดร้อนให้ร่ำไป.
เข้ากรรม : (ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.
คุรุกรรม : น. กิจหรือหน้าที่แห่งครู.
จองเวรจองกรรม : ก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด.
ชาลกรรม : น. การจับปลา. (ส.).
ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
ถึงแก่กรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคําพูดที่สุภาพ), ถึงมรณกรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
ทารุณกรรม : [ทารุนนะกํา] น. การกระทําอย่างโหดร้าย. (ส.).
บรทารกรรม : [-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).
ปฐมกรรม : [ปะถมมะกํา] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสําคัญ; ชื่อพิธี แบบหนึ่งที่กษัตริย์ในครั้งโบราณกระทําแก่ผู้เป็นปรปักษ์.
ผาติกรรม : น. การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยน เอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการ ทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทํา ให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัด ถวายใหม่เป็นการชดใช้.
พลีกรรม : [พะลีกํา] น. การบูชา, พิธีบูชา.