Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กรรมการ , then กมฺมการ, กรรมการ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กรรมการ, 28 found, display 1-28
  1. กรรมการ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  2. กรรมการ : (โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).
  3. -การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
  4. รากศัพท์ : น. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุเช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.
  5. กรรมการิณี : [กํามะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
  6. กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  7. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  8. เข้าตา : ก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ.
  9. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  10. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  11. เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  12. ชักเย่อ : [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่น ออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลัง พอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่น ทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็น เครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลาง เป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามา ในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามา ในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.
  13. เบี้ยประชุม : น. เงินค่าตอบแทนที่ให้แก่กรรมการเป็นต้นที่เข้าประชุม.
  14. ใบเหลือง : น. ใบแสดงการลงโทษในการแข่งขันฟุตบอล ถ้าผู้เล่น กระทำผิดกติกาครั้งแรกจะได้รับใบเหลืองจากกรรมการผู้ตัดสิน เป็นการแจ้งโทษ ถ้ากระทำผิดกติกาอีกก็จะได้รับใบแดง เป็นการ ไล่ออก.
  15. ประชุม : ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยาย ใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุม พงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
  16. ประธาน ๑ : น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
  17. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  18. ยุติธรรม : น. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.
  19. ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
  20. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  21. เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
  22. วินิจฉัย : ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัย ปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
  23. ศาลภาษีอากร : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือ คณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
  24. สรรหา : ก. เลือกมา, คัดมา, เช่น สรรหาของมาตกแต่งบ้าน คณะกรรมการ สรรหาอธิการบดี.
  25. หลักการ : น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  26. องค์ประชุม : น. จํานวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อ บังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.
  27. อนุกรรมการ : [อะนุกํามะกาน] น. กรรมการสาขาของคณะกรรมการ.
  28. อิหม่าม : น. คําเรียกผู้นําในศาสนาอิสลาม, ผู้นําในการทําละหมาด, ตําแหน่งสําคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิด, โต๊ะอิหม่าม ก็เรียก. (อ. imam).
  29. [1-28]

(0.0634 sec)