กระจายเสียง : ก. ส่งเสียงแพร่ไกลออกไป.
กระจาย : ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
วิทยุกระจายเสียง : น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
กระจายนะมณฑล : (โบ) น. ชื่อกลบทวรรคต้นใช้อักษรสูงนําหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรต่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กําจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตํารากลอน).
กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
ออกวิทยุ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ.
ออกอากาศ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพ ทางโทรทัศน์.
กระจุยกระจาย : ว. กระจายยุ่งเหยิง.
กระบอกเสียง : (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
กระแสเสียง : น. เสียงที่แล่นไป, น้ำเสียง.
กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
คะแนนเสียง : น. คะแนนที่ลงในการออกเสียง.
คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
จราญ : [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
จำราญ : (กลอน) ก. หัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
ฉาน ๓ : ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
ทอดเสียง : ก. เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปรกติ.
น้ำเสียง : น. กระแสเสียง, คําพูด; โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้ อารมณ์ที่มีอยู่ในใจ.
ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
ประกีรณกะ, ประเกียรณกะ : [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
ประสานเสียง : ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
แผ่นเสียง : น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็น ร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่อง แล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, จานเสียง ก็เรียก.
มีชื่อ, มีชื่อเสียง : ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.
มีเสียง : ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
ไล่เสียง : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
สรล้าย : [สฺระหฺล้าย] (กลอน) ก. สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็นแนวติด ๆ กันไป.
ส้อมเสียง : น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับ จับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่ อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
หีบเสียง : น. เครื่องทําให้จานเสียงหมุนแล้วมีเสียงออกมา.
ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
ออกเสียง : ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
อัดแผ่นเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง.
อัดเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแถบบันทึกเสียงหรือฟิล์มเป็นต้น.
อื้อฉาว : ว. แพร่งพราย, เซ็งแซ่, กระจาย, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม).
ชื่อเสียง : น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
ดาวกระจาย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Cosmos วงศ์ Compositae คือ ชนิด C. caudatus H.B.K. ดอกสีม่วง ชมพู และขาว ใบเป็นจัก กินได้ และชนิด C. sulphureus Cav. ดอกสีเหลือง.
ต้นเสียง : น. คนร้องนํา.
ตะโพกสุดเสียงสังข์ : (สำ) น. เรียกตะโพกหญิงที่ผายออกมาก.
เป็นปากเป็นเสียงกัน : ก. ทะเลาะกัน.