กระดาก ๒ : (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).
กระดาก ๓ : น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดําดง. (ม. ฉันท์ มหาพน).
กระดาก ๑ : ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
กระดากกระเดื่อง : ก. สะทกสะเทิ้น, ขวยเขิน.
เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
กระเดื่อง ๓ : ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน); กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
มังกุ ๒ : ว. เก้อ, กระดาก. (ป.).
หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
เหนียม : [เหฺนียม] ก. อาย, กระดาก.
เก้อเขิน : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
แก้ขวย, แก้เขิน : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.
ขนาง : [ขะหฺนาง] ก. กระดาก, อาย.
ขวย : ก. กระดาก, อาย, เช่น แก้ขวย ขวยใจ.
ขวยเขิน : ก. กระดากอาย, สะเทิ้นอาย.
ขวยใจ : ก. กระดากใจ.
ขัดเขิน : ก. กระดากอาย.
เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
จั๊กเดียม : [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
ตะขิดตะขวง : ก. อาการที่ทําโดยไม่สนิทใจหรือไม่สะดวกใจเพราะกระดากอายเป็นต้น.
ถนัดปาก : ว. สะดวกปาก, โดยไม่กระดากปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
ยางอาย : น. ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย.
ลัชชา : [ลัด] น. ความละอาย, ความกระดาก. (ป., ส.).
ลัชชี : [ลัด] น. ผู้มีความละอาย, ผู้มีความกระดาก. (ป.; ส. ลชฺชินฺ).
สนิทปาก : ว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้ สนิทปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.
หน้าเจื่อน : ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้ เป็นต้น.
หน้าแดง : น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น.
หน้าปูเลี่ยน ๆ : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้ เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.
หน้าไม่อาย : ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ.
อาย ๑ : ก. รู้สึกกระดาก, รู้สึกขายหน้า.
อายเหนียม : [เหฺนียม] ก. กระดากอาย.