กระดูก ๑ : น. โครงร่างกายมีลักษณะแข็ง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงร่างกาย; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อน้อยเช่น มะปรางว่า มะปรางกระดูก.
กระดูก ๒ :
น. ชื่อโกฐชนิดหนึ่ง เรียกว่า โกฐกระดูก. (ดู โกฐกระดูก ที่ โกฐ).
กระดูก ๓ : (ปาก) ว. ตระหนี่, ขี้เหนียว.
กระดูกเขียด : ดู กระดูกอึ่ง.
กระดูกร้องได้ : (สํา) น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทําให้จับตัว ผู้กระทําผิดมาลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก.
กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
กระดูกขัดมัน : (ปาก) ว. ตระหนี่มาก.
กระดูกแข็ง : (สํา) ว. ไม่ตายง่าย ๆ.
กระดูกค่าง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
กระดูกงู : น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลําเรือสําหรับตั้งกง.
หนังหุ้มกระดูก : (สำ) น. เรียกลักษณะของคนหรือสัตว์ที่ผอมมากจนมอง เห็นแนวโครงกระดูกว่า ผอมจนหนังหุ้มกระดูก.
หน้ากระดูก : น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.
โกฐกระดูก : น. ชื่อเรียกเหง้าแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Saussurea lappa C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae.
คดในข้องอในกระดูก : (สํา) ว. มีสันดานคดโกง.
แช่งชักหักกระดูก : ก. แช่งด่ามุ่งร้ายให้ผู้อื่นได้รับอันตราย อย่างร้ายแรง.
ลิ้นไม่มีกระดูก : (สํา) ก. พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้.
คาร์บอเนต : น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).
ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
เนื้อเยื่อยึดต่อ : น. เนื้อเยื่อที่ยึดเหนี่ยวภายในระหว่างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและช่วยพยุงร่างกาย เช่น พังผืด ไขมัน เอ็น กระดูกอ่อน กระดูก. (อ. connective tissue).
ยาหมู่ : น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง.
ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
กระดูกดำ : ดู กระดูกไก่ดำ.
กระทงเหิน : น. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, หูกระต่าย ก็เรียก; ขื่อกระดูกเชิงกราน.
กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
กระมัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก.
กระวิน ๑ : น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน เหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัด เอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน)
กอและ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
กะละปังหา : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็ง หุ้มลําตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนํามาทําเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดํา, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).
กะโหลก : [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลก มะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่ หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
กั้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Stomatopoda มีหลายวงศ์ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Squillidae หายใจด้วยเหงือก ลําตัวแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือก ที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๕ แต่ไม่ถึงปล้องที่ ๘ กรี มีลักษณะแบนราบ มี ๖ ขา, กั้งตั๊กแตน ก็เรียก.
ก้าน ๑ : น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด; กระดูกกลางแห่งใบไม้ บางอย่าง เช่น มะพร้าวจาก.
กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
แกลบหนู, แกลบหูหนู : [แกฺลบ-] ดู กระดูกอึ่ง.
โกฐ : [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).
โกศ ๑ : [โกด] น. ที่ใส่ศพนั่ง เป็นรูปกลมทรงกระบอก ฝาครอบมียอด, ที่ใส่กระดูกผี มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด; คลัง. (ส.).
ไก่กอและ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
ขมอง : [ขะหฺมอง] (ปาก) น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
ขมับ : [ขะหฺมับ] น. ส่วนที่อยู่หางคิ้วเหนือกระดูกแก้มทั้ง ๒ ข้าง.
ขมิ้นนาง : ดู กระดูกอึ่ง.
ขมิ้นลิง : ดู กระดูกอึ่ง.
ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
ขื่อ : น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
เข้าข้อ : น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่ เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก.
ไขกระดูก : น. เนื้อส่วนในของกระดูก บางแห่งเป็นที่สร้างเม็ดเลือด ชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย.
คราก : [คฺราก] ก. ยืดขยายออกแล้วไม่คืนตัว เช่น กระเพาะคราก ท้องคราก; สึกกร่อน เช่น รูกลอนคราก รูรอดคราก; กระดูกตะโพกเคลื่อนที่ แยกออก เรียกว่า ตะโพกคราก.
คำดีควาย : ดู กระดูกค่าง.