Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระทบกระแทก, กระแทก, กระทบ , then กรทบกรทก, กระทบ, กระทบกระแทก, กระแทก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระทบกระแทก, 139 found, display 1-50
  1. กระทบกระแทก : ว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใด ผู้หนึ่งอย่างแรง.
  2. กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
  3. กระทบ : ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  4. โดน ๑ : ก. กระทบกระทั่ง, กระทบกระแทก, สัมผัสถูกต้อง; ถูก เช่น โดนตี.
  5. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  6. กระทบกระเทียบ : ว. เปรียบเปรยให้กระทบถึง.
  7. กระแทกกระทั้น : ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
  8. กระทบกระทั่ง : ก. แตะต้อง, ทําให้กระเทือนถึง, ทําให้กระเทือนใจ.
  9. กระทบกระเทือน : ก. กระเทือนไปถึง, พาดพิงไปถึงให้รู้สึก สะเทือนใจ.
  10. การนำ : (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนํา หรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุ โดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
  11. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  12. ช้ำ : ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือ บ่อย ๆ เช่น, มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอย ฟกชํ้าดําเขียว.
  13. แดกดัน : ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ.
  14. โน : ก. นูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทกเป็นต้น (มักใช้แก่หัวหรือหน้า) เช่น หัวโน หน้าโน.
  15. ประชดประชัน : ก. พูดหรือทําเป็นเชิงกระทบกระแทกแดกดัน.
  16. โป ๒ : ว. โนหรือนูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทก.
  17. ฟกช้ำดำเขียว : ว. บวมชํ้าตามร่างกายเพราะถูกกระทบ กระแทกอย่างแรง.
  18. ระเบิดขวด : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อ ถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด.
  19. กบแจะ : (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์ หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
  20. แจะ ๑ : ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), ภาษาปากใช้ว่า กบแจะ ก็มี; แตะต้อง เช่น มือไปแจะหน้าขนม.
  21. ทอ ๒ : (ถิ่น) ก. ขวิด, กระทบ, ชน, เช่น วัวควายทอคนตาย.
  22. ประ ๒ : [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
  23. คลื่นกระทบฝั่ง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  24. คลื่นกระทบฝั่ง ๒ : (สํา) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
  25. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  26. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  27. กรรทบ : [กัน-] (กลอน) ก. กระทบ เช่น ฟองฟัดซัดดล กรรทบนาวี. (สรรพสิทธิ์).
  28. -กระทั้น : ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.
  29. -กระเทียบ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.
  30. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  31. ทบ ๒ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  32. ประทบ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  33. กรรแทก : [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ ไล่ปาม เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).
  34. กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
  35. กรอกแกรก ๑ : [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
  36. กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
  37. กระโชกกระชั้น : ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.
  38. กระโชกกระชาก : ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง.
  39. กระโชกโฮกฮาก : ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่ง ไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.
  40. กระแซะ : ก. ขยับกระทบเข้าไป เช่น ขยับตัวกระแซะเข้าไป พูดเลียบเคียงกระแซะเข้าไป.
  41. กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
  42. กระเด็น : ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็ว เพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง.
  43. กระเดื่อง ๑ : น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้วถีบ ลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง; (รูปภาพ กระเดื่อง) เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเดื่อง.
  44. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  45. กระทอก : ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).
  46. กระทืบ : ก. ยกเท้ากระแทกลงไป.
  47. กระทุ้ง : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  48. กระแนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.
  49. กระแหนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็น เชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน ก็ว่า.
  50. กรับ ๑ : [กฺรับ] น. ไม้สําหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น ``กรับ ๆ'' เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-139

(0.1363 sec)