กระหายเลือด : ว. เหี้ยมโหดทำทารุณจนถึงเลือดตกยางออก.
เลือด : น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ ป่วยในระหว่างที่มีระดู, โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์, ผู้ที่เคยศึกษาจาก สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
กระหาย : ก. รู้สึกคอแห้งด้วยอยากดื่มน้ำเพราะมีอาการร้อนในเป็นต้น; อยากเป็นกําลัง.
เลือดกำเดา : น. เลือดที่ออกทางช่องจมูก.
เลือดเข้าเลือดออก : ก. มีบาดแผล เช่น แค่หนามเกี่ยวก็ถึงกับเลือด เข้าเลือดออกแล้ว.
เลือดชั่ว : น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง. เลือดโชก, เลือดท่วมตัว, เลือดสาด, เลือดอาบ น. เลือดออกมาก.
เลือดดำ : น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยหรือขาดออกซิเจน มีสีแดงคล้ำ.
เลือดแดง : น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนมาก มีสีแดงสด.
เลือดตกใน : น. เลือดที่ไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงเป็นต้น.
เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
เลือดตากระเด็น : ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
เลือดท่วมท้องช้าง : ว. นองเลือด.
เลือดนก : ว. สีแดงอย่างสีเลือดของนก.
เลือดเนื้อ : น. ลูกในไส้, ลูกของตนแท้ ๆ; ชีวิต เช่น ปฏิวัติโดยไม่เสีย เลือดเนื้อ.
เลือดเนื้อเชื้อไข : น. ลูกหลาน, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เข้าศึกษา และจบจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เขาเป็นเลือดเนื้อเชื้อไข ธรรมศาสตร์.
เลือดผสม : น. ผู้ที่มีเลือดพ่อและแม่ต่างชาติกัน.
เลือดฝาด : น. เลือดที่แสดงออกทางผิวพรรณ เช่น มีเลือดฝาดดี หมายความว่ามีผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล.
เลือดเย็น ๑ : ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้ โดยไม่รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
เลือดเย็น ๒ : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของ ร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
เลือดแรง : น. ลูกที่มีลักษณะเด่นในทางกรรมพันธุ์ไปทางพ่อหรือ แม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น พ่อขี้ริ้ว แม่สวย ถ้าลูกขี้ริ้ว ก็แสดงว่า เลือดพ่อแรงกว่า ถ้าลูกสวย ก็แสดงว่า เลือดแม่แรงกว่า.
เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
เลือดเสีย : น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น.
เลือดหมู : ว. สีแดงคล้ำอย่างสีเลือดของหมู.
เลือดอุ่น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกาย ไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นคน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น.
เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ : (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมี ความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่.
เลือดข้นกว่าน้ำ : (สำ) น. ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
เลือดจะไปลมจะมา : ก. มีอารมณ์แปรปรวนผิดปรกติเพราะสูงอายุ ถึงระดับหนึ่ง มักเกิดแก่ผู้หญิงที่มีวัยใกล้จะหมดระดู.
เลือดจาง : ว. มีคุณสมบัติที่ดีของบรรพบุรุษลดน้อยลง.
เลือดเดือด : ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
เลือดทาแผ่นดิน : ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษา แผ่นดิน.
เลือดในอก : (สํา) น. ลูก.
เลือดพล่าน : ว. โมโหฉุนเฉียวอย่างรุนแรง.
เลือดไม้ : ดู เรือดไม้.
เลือดร้อน : ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
เลือดล้างด้วยเลือด : ก. แก้แค้นด้วยวิธีรุนแรงในทำนองเดียวกัน.
กระท่อมเลือด : น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับ อย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
กระบูนเลือด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูก ให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ.
เกล็ดเลือด : น. เม็ดเลือดขนาดเล็ก เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงและ เม็ดเลือดขาวมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด.
ไข้เลือดออก : น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด มักเกิด แก่เด็ก มีอาการเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจํ้า ๆ. (อ. haemorrhagic fever).
คัดเลือด : ก. ทําให้เลือดหยุด.
ช้ำเลือดช้ำหนอง : ว. มีเลือดและหนองคั่งอยู่, สีที่มีลักษณะ คล้ายมีเลือดและหนองปนกันออกสีม่วง ๆ เรียกว่า สีชํ้าเลือดชํ้าหนอง.
ตกเลือด : ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูก เป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
ตรวจเลือด : ก. ตรวจดูว่าเลือดอยู่ในกลุ่มไหน หรือมีเชื้อโรคอยู่ในเลือดหรือไม่ หรือเพื่อทราบโรคบางอย่าง เป็นต้น.
ธนาคารเลือด : น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย.
นองเลือด : ว. อย่างดุเดือดและต้องเสียเลือดเนื้อหรือล้มตายกันเป็น จํานวนมาก เช่น รบกันนองเลือด.
บ้าเลือด : ว. บันดาลโทสะอย่างไม่กลัวตายเมื่อถูกทําร้ายถึง เลือดตก ยางออก.