Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเทียม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเทียม, 37 found, display 1-37
  1. กระเทียม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
  2. กระเทียมหอม : น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  3. ทรงกระเทียม : [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
  4. เปลือกกระเทียม : น. ชื่อผ้าขาวเนื้อบางละเอียดชนิดหนึ่ง.
  5. หัวเดียวกระเทียมลีบ : ว. ตัวคนเดียวโดดเดี่ยว ไม่มีพวกพ้อง.
  6. กระจุก : น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. ก. รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ธุรกิจใหญ่ ๆ กระจุกกันอยู่ในตัวเมือง.
  7. ของชำ : น. ของแห้งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น พริก กะปิ หอม กระเทียม.
  8. เครื่องแกง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงแกง มีพริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น.
  9. ต้นเทียม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
  10. เทียม ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
  11. น้ำเงี้ยว : (ถิ่น–พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกง มีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูก หมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับ ขนมจีน.
  12. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  13. น้ำพริกเผา : น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  14. ปลาส้ม : น. ปลาหมักด้วยเกลือ ข้าวสุก พริกไทย กระเทียม.
  15. มเหาษธ ๒ : [มะเหาสด] น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. (ส.; ป. มโหสธ).
  16. ส้มฟัก : น. อาหารทําด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. ส้มมะขาม
  17. สมุนไพร : [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
  18. หอมขาว : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
  19. หอมเตียม : (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).
  20. หัวเทียม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. หัวกระเทียม. (ดู กระเทียม).
  21. กุ้งส้ม : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม.
  22. กุยช่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
  23. จุก ๑ : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
  24. เจ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
  25. เจียว ๑ : ก. ทอดมันสัตว์เพื่อเอานํ้ามัน เช่น เจียวนํ้ามันหมู, ทอดของบางอย่าง ด้วยนํ้ามัน เช่น เจียวไข่ เจียวหอม เจียวกระเทียม; (ถิ่น-พายัพ) แกง. ว. ที่ทอดด้วยนํ้ามัน เช่น ไข่เจียว หอมเจียว กระเทียมเจียว.
  26. แจ ๒ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
  27. ซาวน้ำ : น. เครื่องกินกับขนมจีนปนกันหลายสิ่ง มีกุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย สับปะรด หรือส้มต่าง ๆ เป็นต้น มักกินกับแจงลอน เรียกว่า ขนมจีนซาวนํ้า.
  28. บวน : น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้
  29. ฝ่อ ๑ : ก. เหี่ยวยุบ, เหี่ยวแฟบ, เช่น หัวหอมฝ่อ หัวกระเทียมฝ่อ ไข่เหาฝ่อ, โดยปริยายหมายความว่า ตกใจ, ใจหาย, เสียขวัญ, เช่น ใจฝ่อ ดีฝ่อ.
  30. เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
  31. เมี่ยงลาว : น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
  32. รำแย้ : น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรําแย้ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  33. ส้มกุ้ง ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
  34. ส้มตำ : น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตําประสม กับเครื่องปรุงมีกระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตําส้ม.
  35. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  36. ไห : น. ภาชนะเคลือบดินเผา มีปากเล็ก ก้นเล็ก กลางป่อง สําหรับใส่กระเทียม ดองหรือเกลือเป็นต้น.
  37. อาจาด : น. ของกินแก้เลี่ยนปรุงด้วยแตงกวา หัวหอม เป็นต้น แช่นํ้าส้ม หรือนํ้ากระเทียมดอง.
  38. [1-37]

(0.0190 sec)