Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเป๋านักเรียน, นักเรียน, กระเป๋า , then กรปานกรยน, กระเป๋า, กระเป๋านักเรียน, นักเรียน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเป๋านักเรียน, 96 found, display 1-50
  1. นักเรียน : น. ผู้ศึกษาเล่าเรียน; ผู้รับการศึกษาจากโรงเรียน.
  2. กระเป๋า : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
  3. กระเป๋า : (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
  4. กระเป๋าฉีก : (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
  5. กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
  6. กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
  7. กระเป๋าแฟบ : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
  8. กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
  9. กระเป๋าแห้ง : (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
  10. นักเรียนนอก : น. ผู้ที่ไปศึกษามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะหมายถึง ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  11. ควักกระเป๋า : ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
  12. เทกระเป๋า : ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
  13. ผู้ดูแลนักเรียน : น. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน ในต่างประเทศ.
  14. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  15. หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่น เขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.
  16. พลิกกระเป๋า : (ปาก) ก. เสียจนหมดตัวเพราะผิดจากที่คาดหมายไว้ (ใช้แก่การพนัน).
  17. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  18. ผ้าใบ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทําใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
  19. พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  20. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  21. โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ : น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่ หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจํา, เรียกนักเรียนเช่นนั้นว่า นักเรียน กินนอน หรือ นักเรียนประจํา.
  22. อลิงค์, อลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
  23. กรรตุวาจก : [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการก คือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทํา หน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
  24. กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
  25. กะเตง : ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
  26. กินนอน : น. เรียกโรงเรียนที่จัดให้นักเรียนกินอยู่หลับนอน ในโรงเรียนว่า โรงเรียนกินนอน, เรียกนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียน กินนอนว่า นักเรียนกินนอน.
  27. กุยเฮง : น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
  28. คันชีพ ๑ : น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน, ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าวของกินเป็นต้น.
  29. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  30. จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
  31. ช้างน้าว : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium pulchellum Roxb. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ สีนํ้าตาลอมชมพูหรือนวล มีแต้มสีเลือดหมูที่กลีบกระเป๋า ๒ แต้ม. (๒) ดู ตานเหลือง.
  32. แซะ ๒ : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium scabrilingue Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae กลีบดอกสีขาว กลีบกระเป๋าสีเขียวอ่อนถึงเหลือง กลิ่นหอม.
  33. ดรุณาณัติ : น. ตําแหน่งหัวหน้านักเรียน.
  34. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  35. ทดสอบ : ก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบ เครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.
  36. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  37. นัก ๑ : น. ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน, ผู้ชอบ เช่น นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. (ข.).
  38. เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
  39. แบบฝึกหัด : น. แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน ฝึกตอบเป็นต้น.
  40. ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
  41. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  42. เปอร์เซ็นต์ : น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้ คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้ เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
  43. เป๋า : น. กระเป๋า; ชื่อการนับแต้มลูกเต๋าที่ขึ้น ๓ หน้าเหมือนกัน.
  44. แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
  45. ฝากโรงเรียน : ก. นําเด็กไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียน.
  46. พรหมจารี : น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  47. พวก : น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามอาชีพ หรือชนิดเป็นต้น เช่น พวกนักเรียน พวกพ่อค้า พวกกรรมกร พวก นก พวกกา พวกเครื่องมือ พวกเครื่องเขียน.
  48. พึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ เช่น นักเรียนบ่นกันพึมเลย.
  49. มอบ ๑ : ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.
  50. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  51. [1-50] | 51-96

(0.1089 sec)