สะพาย : น. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น สะพายย่าม สะพายกระเป๋า, ตะพาย ก็ว่า.
กระเป๋า ๑ : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
กระเป๋า ๒ : (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
กระเป๋าฉีก : (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
กระเป๋าแฟบ : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
กระเป๋าแห้ง : (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
สะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.
สะพายเฉียง : ก. ห่มเฉียงบ่า.
ควักกระเป๋า : ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
ตระแบง ๑ : [ตฺระ-] (กลอน) ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ตาวตระแบง.
เทกระเป๋า : ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่น เขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.
พลิกกระเป๋า : (ปาก) ก. เสียจนหมดตัวเพราะผิดจากที่คาดหมายไว้ (ใช้แก่การพนัน).
ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
ผ้าใบ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทําใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
กระเตง : ก. อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวหรือสะพายของโตงเตงไป.
กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
กะเตง : ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
กันชีพ : น. สายห้อยใช้สะพายเฉวียงบ่า ๒ ข้าง หรือข้างเดียว.
กุยเฮง : น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
คันชีพ ๑ : น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน, ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าวของกินเป็นต้น.
จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
ช้างน้าว : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium pulchellum Roxb. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ สีนํ้าตาลอมชมพูหรือนวล มีแต้มสีเลือดหมูที่กลีบกระเป๋า ๒ แต้ม. (๒) ดู ตานเหลือง.
แซะ ๒ : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium scabrilingue Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae กลีบดอกสีขาว กลีบกระเป๋าสีเขียวอ่อนถึงเหลือง กลิ่นหอม.
ตะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดตะพายแล่ง, สะพายแล่ง ก็ว่า.
ถุงย่าม : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหู หรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ย่าม ก็ว่า.
ทับทรวง : น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับ หน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก. (รูปภาพ ทับทรวง)
เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
เป๋า : น. กระเป๋า; ชื่อการนับแต้มลูกเต๋าที่ขึ้น ๓ หน้าเหมือนกัน.
พรหมสูตร : น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของ, พราหมณ์ สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
มือกาว : ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า, ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของ เผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูก ไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.
ย่าม ๑ : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัว สําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.
ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
ร่างแห : น. สิ่งที่ถักด้วยด้ายเป็นต้น เป็นตาข่ายสําหรับจับปลา, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร่างแหคลุมผม กระเป๋าร่างแห.
รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
ล้วง : ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิด ที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
ล่องหน : ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคํา หายตัว เป็น ล่องหน หายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไป โดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
ล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้ เช่น วางกระเป๋าสตางค์ไว้บนโต๊ะล่อตา ขโมย.
เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
เลินเล่อ : ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น เด็กคนนี้ เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความ ระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.