เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
กระเป๋า ๑ : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
กระเป๋า ๒ : (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
กระเป๋าฉีก : (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
กระเป๋าแฟบ : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
กระเป๋าแห้ง : (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
เอกสารราชการ : [เอกกะ] (กฎ) น. เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทํา ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และหมายความรวมถึงสําเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย.
เอกสารสิทธิ : [เอกกะสานสิด] (กฎ) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
ควักกระเป๋า : ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
เทกระเป๋า : ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่น เขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.
พลิกกระเป๋า : (ปาก) ก. เสียจนหมดตัวเพราะผิดจากที่คาดหมายไว้ (ใช้แก่การพนัน).
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
ผ้าใบ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทําใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
กะเตง : ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
กุยเฮง : น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
คันชีพ ๑ : น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน, ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าวของกินเป็นต้น.
ค่าฤชาธรรมเนียม : [-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
งานสารบรรณ : (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร.
จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
ช้างน้าว : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium pulchellum Roxb. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ สีนํ้าตาลอมชมพูหรือนวล มีแต้มสีเลือดหมูที่กลีบกระเป๋า ๒ แต้ม. (๒) ดู ตานเหลือง.
แซะ ๒ : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium scabrilingue Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae กลีบดอกสีขาว กลีบกระเป๋าสีเขียวอ่อนถึงเหลือง กลิ่นหอม.
ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
ตราสาร : (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนด ที่ดิน ตั๋วเงิน.
ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
ถ่ายสำเนา : ก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ ด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.
แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
โทรสาร : น. กรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทาง คลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธี ดังกล่าว. (อ. facsimile).
บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
บสำคัญคู่จ่าย : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดง การจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
บัตร : [บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทําด้วยกระดาษ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจําตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ; ภาชนะทําด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสําหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, ถ้าทําเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง. (สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
ใบขนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการ อื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
ใบแดงแจ้งโทษ : (กฎ; เลิก) น. เอกสารที่กรมตํารวจออกเพื่อแสดง ว่าผู้นั้นเคยต้องโทษในคดีอาญามาแล้ว เดิมใช้กระดาษสีแดง.