Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเป๋าแห้ง, กระเป๋า, แห้ง , then กรปาหง, กระเป๋า, กระเป๋าแห้ง, หง, แห้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเป๋าแห้ง, 329 found, display 1-50
  1. กระเป๋าแห้ง : (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
  2. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  3. กระเป๋า : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
  4. กระเป๋า : (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
  5. กระเป๋าฉีก : (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
  6. กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
  7. กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
  8. กระเป๋าแฟบ : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
  9. กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
  10. แห้งผาก : ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท.
  11. แห้งเหือด : ก. ค่อยแห้งหายไปเพราะหดหู่ใจ เช่น จิตใจแห้งเหี่ยว, เหือดแห้ง ก็ว่า.
  12. แห้งแล้ง : ว. ปราศจากความสดชื่น, ปราศจากความชุ่มชื้น.
  13. แห้งเหี่ยว : ก. ขาดความสดชื่น, เหี่ยวแห้ง ก็ว่า.
  14. กำสรด : [-สด] (แบบ) ก. สลด, แห้ง, เศร้า, เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหา แต่องคเอกา จะแสนกำสรดลำเค็ญ. (สุธนู).
  15. ของแห้ง : น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง.
  16. ขิงแห้ง : น. ขิงชนิดหนึ่งที่ตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  17. ขี้หมูราขี้หมาแห้ง : ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.
  18. ควักกระเป๋า : ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
  19. เทกระเป๋า : ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
  20. ปูนแห้ง : น. เรียกสีชมพูอย่างหนึ่งคล้ายสีปูนกินกับหมากเมื่อแห้ง ว่า สีปูนแห้ง.
  21. มลาน ๑ : [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
  22. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  23. หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่น เขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.
  24. หมากแห้ง : น. หมากที่ตากแห้งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ.
  25. อดแห้งอดแล้ง : ก. ไม่ได้กินของที่อยากกิน, อดอยากปากแห้ง ก็ว่า.
  26. อดอยากปากแห้ง : ก. ไม่ได้กินของที่อยากกิน, อดแห้งอดแล้ง ก็ว่า.
  27. หง : ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
  28. เกยแห้ง : ก. ขึ้นไปค้างอยู่บนบก.
  29. เงินแห้ง : (ปาก) น. เงินเชื่อ.
  30. ท้องแห้ง : (ปาก) ก. ฝืดเคือง, อด.
  31. ปากกาหมึกแห้ง : น. ปากกาลูกลื่น.
  32. ผอมแห้ง : ว. ผอมมากจนแทบไม่มีเรี่ยวแรง.
  33. พลิกกระเป๋า : (ปาก) ก. เสียจนหมดตัวเพราะผิดจากที่คาดหมายไว้ (ใช้แก่การพนัน).
  34. ยิ้มแห้ง : ก. จำใจยิ้ม.
  35. หน้าแห้ง : ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง.
  36. หมาเห่าใบตองแห้ง : (สํา) น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง.
  37. หัวกระไดไม่แห้ง : (สํา) ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้าน ที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอํานาจวาสนา).
  38. เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  39. อู่แห้ง : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าอู่แล้ว สูบนํ้าภายในอู่ ออกให้หมด ทําให้สามารถซ่อมท้องเรือภายนอกได้.
  40. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  41. โศก ๑, โศก : [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป.โสก).
  42. กรัง ๑ : [กฺรัง] ก. แห้ง เช่น เสบียงกรัง, แห้งติดแน่นอยู่ เช่น ขี้มูกขี้ตากรัง.
  43. โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา : น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
  44. โคก ๑ : น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. ว. ที่นูนสูงขึ้น. (ข. โคก ว่า ที่ไม่มีนํ้า, แห้ง).
  45. ทัคธ์ : ว. ไหม้, เกรียม, แห้ง. (ส.).
  46. ผ้าใบ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทําใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
  47. ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
  48. พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  49. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  50. แล้ง : น. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้ง แล้งเป็นทะเลทราย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-329

(0.1357 sec)