กราบ ๑ : [กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสําหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.
กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
กราบ ๓ : [กฺราบ] (โบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
กราบ ๔ : [กฺราบ] (โบ) ว. ตราบ เช่น กราบเท่ากัลปาวสาน. (พงศ. อยุธยา).
ผ้ากราบ : น. ผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ ซึ่งกลาย มาจากผ้าสันถัต, (โบ) กราบพระ ก็ว่า.
เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
หมอบกราบ : ก. หมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น.
กระดานเลียบ : น. ไม้กระดานแผ่นเดียวที่ปูไว้หน้าเรือน สําหรับนั่ง หรือวางสิ่งของต่าง ๆ, กราบเรือส่วนที่เป็นไม้กระดานที่ติดตรง แคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน.
กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
ขอพระราชทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูล พระเจ้าแผ่นดิน).
ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
แท่นที่บูชา, : (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
เป็ด ๓ : น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่องดูรูปร่างคล้ายเป็ด, อีเป็ด ก็เรียก.
ผ้า : น. สิ่งที่ทําด้วยเยื่อใยเช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัด ให้เป็นผืน, มัก''เรียกตามลักษณะของสิ่งที่ทำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ หรือตามลักษณะที่ใช้ เช่น ผ้ากราบ ผ้าอาบ ผ้าอ้อม.
ผีหลอก ๑ : น. เรือแจวจับสัตว์นํ้าในลําคลองและลํานํ้าชนิดหนึ่ง จับได้ทั้งปลาและกุ้งกราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาว ปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงนํ้า กราบอีกด้านหนึ่งมีตาข่ายกันมิให้ปลา และกุ้งกระโดดข้าม ใช้จับเวลากลางคืน ปลาตกใจจะกระโดดเข้า มาหาเรือเอง.
พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
ฟุบ : ก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.
ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
มอ ๑ : น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ.
มอบ ๓ : ก. ทําให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปาก กระทง. น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดู เรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน๒ด้านมาบรรจบกัน หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ.
ไม้มอบ : น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อย หรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบ ด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน.
ราโท : น. ไม้กระดานเรียบที่ประกบบนกราบเรือบางชนิด เช่น เรือเอี้ยมจุ๊น เรือโป๊ะจ้าย เรือกลไฟ สําหรับกันนํ้าเข้าเรือหรือเดินเลียบข้างเรือ.
เรือกราบ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลม และเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลองเรือแซง หรือเรือกันได้.
เรือประกอบ : น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อ ข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ.
เรือป๊าบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน ไม่เสริมกราบ หัวและท้ายเรือ ป้าน ลักษณะคล้ายเรืออีแปะสำหรับใช้สอยทั่วไปตามริมหนอง คลอง บึง.
เรือเป็ด : น. เรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้าย แบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่อง ดูรูปร่างคล้ายเป็ด, เรืออีเป็ด ก็เรียก.
เรือผีหลอก : น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำ ในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้าง หนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลา ตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง.
เรือมอ : น. เรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุก ข้าวเปลือกและเกลือ.
เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
เรือสำปั้น : น. เรือต่อเสริมกราบชนิดหนึ่ง เดิมทำด้วยไม้กระดาน ๓ แผ่น ท้ายสูงกว่าหัวเรือ ใช้แจวหรือพาย.
เรืออีแปะ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบนเสริมกราบ รูปคล้ายเรือสำปั้น แต่หัวเรือสั้นกว่า.
ลาตาย : น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้า อาบศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวาย บังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สํานักพระราชวัง เป็นการ กราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ.
ศิโรราบ : ก. กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม.
สรวมชีพ : ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
หลักแจว :
น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสําหรับยึดแจว; ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).
อภิวันท์ : ก. กราบไหว้. (ส., ป.).
อีเป็ด : น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้าย แบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่อง ดูรูปร่างคล้ายเป็ด, เรือเป็ด ก็เรียก.
อีแปะ ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน เสริมกราบ รูปคล้ายเรือสําปั้น แต่หัวเรือสั้นกว่า.