กริว ๑ :
[กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
กริว ๒ : [กฺริว] ว. เกรียว เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น. (ม. ฉันท์ มหาพน).
กริวกราว : ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบกธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว.
กริวลาย : ดู ม่านลาย.
ปากกริว : น. รอยปากไม้คล้ายปากกบ แต่มีรอยผ่ามุมฉากไม่ตลอด เหมือนปากกบ ผ่าแค่หมดลวดเท่านั้น.
จริว ๑ : [จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.
ตริว : [ตฺริว] น. เต่า, กริว หรือ จริว ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
ตะพาบ, ตะพาบน้ำ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดองอ่อนนิ่ม มีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว ในประเทศ ไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบ (Amyda cartilageneus) ม่านลาย (Chitra chitra), กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
กราว ๑ :
[กฺราว] (โบ; คําเดียวกับ จราว) น. ตะพาบน้า เช่น ตัวกราวมีกริวพ่นชลสินธุ์. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้า).
ม่านลาย : น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่า กระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน, กริวลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
แกร่ว : [แกฺร่ว] ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน.
กริ้ว : [กฺริ้ว] (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ในบทกลอนโบราณใช้ในที่สามัญก็มี เช่น ฝูงมหาชนท้งงหลายกริ้วโกรธ. (ม. คําหลวง ชูชก).