กริ่งเกรง : ก. ระแวงกลัวไป.
เกรง : [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
กริ่ง ๑ : [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะ คลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า พระกริ่ง.
กริ่ง ๒ : [กฺริ่ง] ก. นึกแคลง, นึกระแวง, นึกสงสัย.
เกรงขาม : ก. คร้าม, เกรง.
หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
กริ่งใจ : ก. นึกแคลงใจ.
เกรงกลัว : ก. กลัว.
ชะดีชะร้าย : (ปาก) ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, โดยปรกติ มักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะ เกิดขึ้นตามที่คาดไว้.
หวั่น : ก. พรั่น, มีอาการกริ่งเกรงไป.
หวั่นใจ : ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.
โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
ขยั้น : [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
คร้ามเกรง : ก. เกรงกลัว.
คุ้มเกรง : ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
เยง : ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี.
กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ : ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบาก เดือดร้อนรําคาญใจ.
หวั่นกลัว, หวั่นเกรง : ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
แยง ๒ : ก. เยง, กลัว, เกรง.
กระดาก ๑ : ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
กระเหม็ดกระแหม่ : [-แหฺม่] ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
กระอืด : ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
โกโรโกโส : (ปาก) ว. โกรงเกรง, ไม่มั่นคง, เช่น กระท่อมโกโรโกโส; ต่ำต้อย เช่น คนโกโรโกโส.
ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
เขม็ดแขม่ : [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่] ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
งอมพระราม : (สํา) ว. มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะ งอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).
เจ้าพ่อ : น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
ดุ : ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิดหรือ ไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก, มีคนเสีย ชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัวหรือน่า เกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ เสือดุ.
ทะมึน, ทะมื่น : ว. มีลักษณะดํามืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, ตระมื่น ก็ว่า.
น้ำท่วมปาก : (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
บังอาจ : ก. กล้าแสดงกล้าทําด้วยทะนงใจหรือฮึกเหิม โดยไม่ยําเกรงหรือไม่ รู้จักสูงตํ่า, กล้าละเมิดกฎหมาย.
ปราม : [ปฺราม] ก. ว่ากล่าวตักเตือนให้เกรงกลัว.
ปากกล้า : ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร.
ไภษัชคุรุ : [ไพสัดชะ] น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน; ชื่อพระกริ่ง.
ย่อแหยง : [แหฺยง] ก. เกรงกลัว.
ยำเกรง : ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า.
ยำเยง : (แบบ) ก. ยําเกรง.
ยิ้มแสยะ : ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่า จะทำร้าย.