กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
ลูกกรุง : ว. เรียกเพลงชนิดที่คนในกรุงหรือในเมืองนิยมว่า เพลงลูกกรุง.
กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
กุรุง : (โบ) น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์
นคร, นคร : [นะคอน, นะคะระ] น. เมืองใหญ่, กรุง. (ป., ส.).
กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
กระโหนด : [-โหฺนด] น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคัน กลมคันแบนใหญ่น้อย. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). (แผลงมาจาก โตนด).
กาษา, กาสา ๑ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสํารับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตําราทํานายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).
โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
ข้าวบุหรี่ : น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว. (กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
ชริน : [ชะ] ก. ประดับ เช่น กรุงชรินไว้.
ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
ทวารบถ : [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกําแพงเชิงเทิน ป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
นฤพาน. : (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).
นอก : บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
นาคร : [นาคอน] น. ชาวนคร, ชาวกรุง. (ป., ส.).
แน่นนันต์ : (กลอน) ว. มากมาย, อัดแอ, คับคั่ง, ยัดเยียด, เช่น กรุงกษัตริย์ มาพร้อมประชุมกัน แน่นนันต์ในพระลานชัยศรี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
ปู่ครู : น. ตําแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี.
พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
ยังมี : ว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมี กรุงกษัตริย์.
ยินลากขากดี : ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า).
รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
ละแวก ๑ : น. เขมรชาวกรุงละแวก.
แล ๓ : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
ว่าขาน : ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
สมโภช : [โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธี มงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
อะดุง : (กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุง อะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).
อุปกาศ : [อุปะกาด, อุบปะกาด] (กลอน) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา. (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช. (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
กรงทอง : (ราชา) น. เรียกเปลที่ทําเป็นลูกกรง ว่า พระกรงทอง.
กรงเล็บ : น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
กริ่ง ๑ : [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะ คลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า พระกริ่ง.
กริ่ง ๒ : [กฺริ่ง] ก. นึกแคลง, นึกระแวง, นึกสงสัย.
แกร่ง : [แกฺร่ง] ว. แข็ง, แข็งกร้าว.
โกร่ง ๑ : [โกฺร่ง] น. เครื่องบดยารูปคล้ายครกหรือถ้วย มีสากสําหรับบดให้ละเอียด, ลักษณนามว่า ใบ; ภาชนะรูปอย่างกล่องมีลิ้น ใช้ตามบ่อนเบี้ยสําหรับใส่อีแปะ.
โกร่ง ๒ : [โกฺร่ง] น. โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สําหรับ ป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ; ส่วนที่เป็นรูปโค้งเหนือคอระฆัง.
โกร่ง ๓ :
[โกฺร่ง] น. เรียกจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus ว่า อ้ายโกร่ง, จิ้งโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. (ดู จิ้งโกร่ง).
โกร่ง ๔ : [โกฺร่ง] น. เกราะยาว เช่น พิณพาทย์ฆ้องกลองดังทั้งเกราะโกร่ง. (อิเหนา).