Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลอนเปล่า, เปล่า, กลอน , then กลอน, กลอนปลา, กลอนเปล่า, ปลา, เปล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลอนเปล่า, 1629 found, display 1-50
  1. เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
  2. ล่ง : (กลอน) ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกําบัง.
  3. เปล่า ๆ ปลี้ ๆ : ว. ไม่มีหลักฐาน เช่น มาโทษกันเปล่า ๆ ปลี้ ๆ.
  4. กลอน : [กฺลอน] น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง; ไม้ที่พาดบนแปสําหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น.
  5. กลอน : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  6. กลอน : [กฺลอน] น. ลูกตุ้ม, ขลุบ, เช่น แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์. (อนิรุทธ์).
  7. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  8. เมฆ : [เมก] น. ไอนํ้าที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศ. (ป., ส.). เมฆคลุ้ม, เมฆมาก (อุตุ) น. ปริมาณเมฆมากกว่า ๗ ใน ๘ ในท้องฟ้า ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการพยากรณ์อากาศ. เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี (กลอน) น. เมฆ.
  9. กลอนด้น : น. คํากลอนที่ว่าดะไปไม่คํานึงถึงหลักสัมผัส.
  10. กลอนตลาด : น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน.
  11. กลอนบทละคร : น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้อง ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
  12. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  13. กลอนลิลิต : น. คํากลอนที่แต่งอย่างร่าย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  14. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  15. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  16. กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
  17. เปล่าดาย : ว. เปล่าทีเดียว.
  18. เปล่าเปลี่ยว : ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่.
  19. กรรเอา : [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
  20. กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
  21. กระเษียร : (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. น้ำนม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์).
  22. กฤษฎา ๑ : [กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทําแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทํามาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
  23. กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.
  24. กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
  25. เกลื่อน ๑ : [เกฺลื่อน] ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน. ก. ทําให้ยุบหรือราบลง เช่น เกลื่อนที่ เกลื่อนฝี. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด ว. เกลื่อน.
  26. เกลื่อน ๒, เกลื่อนความ : [เกฺลื่อน] ก. เสความ.
  27. เคื้อ ๒ : (ถิ่น; กลอน; โบ) น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู. (ม. คําหลวง กุมาร).
  28. ดำนู : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ดนู) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น กึ่งกายกามดํานู. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  29. ดำพอง, ดำโพง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  30. ดำรวจ : [-หฺรวด] (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตรวจ) ก. ตรวจตรา, พิจารณา, เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  31. ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  32. ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
  33. ปากเปล่า : ก. ว่าโดยไม่ดูตัวหนังสือ เช่น เทศน์ปากเปล่า, เรียกวิธีสอบ โดยใช้วาจาแทนการเขียนคำตอบว่า สอบปากเปล่า.
  34. มือเปล่า : น. มือที่ไม่ได้ถืออาวุธ เช่น สู้มือเปล่า, มือที่ไม่ได้ถือ ของติดไปด้วย เช่น มามือเปล่า, ไม่ได้ลงทุน เช่น จับเสือมือเปล่า.
  35. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  36. ว่างเปล่า : ว. ไม่มีอะไรเลย เช่น โต๊ะตัวนี้ว่างเปล่าไม่มีของวางอยู่เลย.
  37. กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
  38. กะล่อน ๑ : น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
  39. กะล่อน ๒ : ว. พูดคล่อง แต่ไม่จริงเป็นส่วนมาก.
  40. เงินกินเปล่า : น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกัน.
  41. จับเสือมือเปล่า : (สํา) ก. แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน.
  42. ชำนาญเกลากลอน : น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  43. เชิงกลอน : น. ไม้ประกับปลายเต้าตลอดชายคาเรือนแบบเก่า; ไม้ประกับปลายจันทันตลอดชายคาเรือนแบบใหม่ที่ไม่มีเต้า.
  44. ที่ดินมือเปล่า : น. ที่ดินซึ่งผู้ครอบครองยังไม่มีหนังสือสําคัญสําหรับ ที่ดิน.
  45. น้ำแข็งเปล่า : น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา.
  46. ยาลูกกลอน : น. ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  47. ลายพาดกลอน : ดู โคร่ง.
  48. ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  49. สอบปากเปล่า : ก. สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา.
  50. กระลุมพุก ๒ : (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก๒).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1629

(0.2238 sec)