กลัด : [กฺลัด] น. สวะที่ติดขวางคลองแน่นอยู่. ก. เสียบขัดไว้ให้อยู่ด้วยของแหลม เช่น กลัดไม้กลัด กลัดเข็มกลัด; โดยปริยายเรียกอาการที่สิ่งบางอย่างคั่งอยู่ข้างใน เช่น กลัดหนอง.
กลัดมัน : ว. มีความรู้สึกในทางกามารมณ์อย่างรุนแรง.
เข็มกลัด : น. เครื่องประดับสําหรับกลัดสไบและเสื้อเป็นต้น, เข็มซ่อนปลาย.
ไม้กลัด : น. สิ่งที่มีปลายแหลม ๒ ข้าง โดยมากทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็ก ๆ หรือ ก้านมะพร้าวตัดเป็นท่อนสั้น ๆ สำหรับใช้แทงขัดกระทงหรือใบตองที่ห่อขนม เป็นต้น; ไม้ไผ่เหลาเป็นอันเล็ก ๆ ปลายเรียวโคนใหญ่ ใช้ขัดมุ่นผมจุกเด็ก.
กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
ตรม : [ตฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น ตรมใจ; กลัด เช่น ตรมหนอง, กรม ก็ว่า.
กระลัด : [-หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ).
กระดุม : น. เครื่องกลัดส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุมสําหรับขัดหรือบางทีก็ติด เป็นเครื่องประดับ, ดุม ลูกดุม หรือ ลูกกระดุม ก็เรียก.
กลด ๑ : [กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).
กลด ๒ :
[กฺลด] (โบ) น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์. (ดู กลศ).
ข้างควาย : น. เรียกไม้ขนาบใกล้สันหลังคา ๒ ข้างจากหลบ มีไม้ เสียบหนูยึดกลัดให้แน่น ว่า ไม้ข้างควาย.
เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
เข็มซ่อนปลาย : น. เข็มสําหรับใช้กลัดเสื้อผ้า, เข็มกลัด ก็ว่า.
เข็มหมุด : น. เข็มที่มีหัวเป็นปุ่มใช้กลัดกระดาษหรือผ้าเป็นต้น.
คาด ๑ : ก. พันโดยรอบแล้วทําอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อ ไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็น ทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง.
ดุม : น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสําหรับสอดเพลา; เครื่องกลัด ส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุม สําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
น้ำหนอง : น. น้ำเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, หนอง ก็ว่า.
แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
แบะอก : ก. เปิดอกเสื้อแสดงท่าว่าเป็นนักเลงหรือไม่สุภาพ. ว. เรียกลักษณะการใส่เสื้อไม่กลัดกระดุมว่า ใส่เสื้อแบะอก.
ฝี ๑ : น. โรคจําพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อ ต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคําร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด.
ไม้ข้างควาย : น. ไม้ขนาบสันหลังคา ๒ ข้างจากหลบมีไม้เสียบหนูกลัดยึดให้แน่น.
เย็บ : ก. ทําให้ติดกันโดยใช้เข็มร้อยด้ายหรือเชือกเป็นต้นแทงขึ้นแทงลง เช่น เย็บผ้า เย็บกระสอบ, ใช้ตอกหรือหวายเป็นต้นที่มีปลายแหลมแทงขึ้นลง เพื่อร้อยสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ติดกัน เช่น เย็บจาก, ใช้เครื่องอุปกรณ์กดทำให้ กระดาษติดกันด้วยลวดเย็บ เช่น เย็บกระดาษ, กลัดให้ติดกันด้วยไม้กลัด เป็นต้น เช่น เย็บกระทง.
ราชปะแตน : [ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัด ตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).
ล็อกเกต : น. เครื่องประดับทำเป็นรูปตลับเล็ก ๆ หรือกรอบรูป มีห่วงสำหรับ คล้องสายสร้อยห้อยคอหรือกลัดติดเสื้อ. (อ. locket).
หนอง ๒ : [หฺนอง] น. นํ้าเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, น้ำหนอง ก็ว่า.
หมุด : น. เครื่องสําหรับตรึงหรืออุดรู; เรียกเข็มที่หัวเป็นปุ่ม ใช้กลัดกระดาษหรือ ผ้าเป็นต้น ว่า เข็มหมุด; ผ้ากอซที่ใช้สอดเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับ ของเหลวภายใน.
อมหนอง : ก. กลัดหนอง, มีหนองคั่งอยู่.
กลดพระสุเมรุ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
กลดกำมะลอ : น. ร่มชนิดหนึ่ง พื้นขาวโรยทองเป็นเครื่องยศ.
กระลด : [-หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ).
กลศ : [กฺลด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ มีลักษณะ เหมือนคนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น กลด ก็มี. (ส.; ป. กลส).
เครื่องสูง : น. ของสําหรับแสดงอิสริยยศหรือยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร กลด. (รูปภาพ เครื่องสูง)
กรรชิง : [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้าย ร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
กั้น : ก. กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา เช่น กั้นกลด ภูเขากั้นเขตแดน กั้นถนน.
กำมะลอ : น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือน รูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ; เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับใช้กับ เจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่อง กํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาว หรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ; เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อย ที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).