Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลับกลาย, กลาย, กลับ , then กลบ, กลับ, กลับกลาย, กลาย, กฬาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลับกลาย, 290 found, display 1-50
  1. กลับกลาย : ก. เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป.
  2. กลับ : [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทําตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.
  3. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  4. พลิกแพลง : [แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลง ให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง, เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.
  5. กลับคืน : ก. กลับที่เดิม, สู่สภาพเดิม.
  6. กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
  7. กลับเกลือก : ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), กระลับกระเลือก ก็ว่า.
  8. กลับคำ : ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.
  9. กลับตาลปัตร : [กฺลับตาละปัด] ว. ผิดความคาดหมายอย่าง ตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ.
  10. กลับเนื้อกลับตัว : (สํา) ก. เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี.
  11. จริง, จริง ๆ : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
  12. แปรผัน : ก. เปลี่ยนแปลงไป, กลับกลายไป, ผันแปร ก็ว่า; (คณิต) เพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน มี ๒ กรณี คือ แปรผัน โดยตรง และ แปรผันแบบผกผัน.
  13. ผันแปร : [แปฺร] ก. เปลี่ยนแปลงไป, กลับกลายไป, แปรผัน ก็ว่า.
  14. มั่นคง : ว. แน่นหนาและทนทาน เช่น เก็บของไว้ในห้องนั้นมั่นคงดี; ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น ใจคอมั่นคง.
  15. วิปริต : [วิปะหฺริด, วิบปะหฺริด] ก. แปรปรวน, ผิดปรกติ, ผิดแนวทาง, แปรปรวนไปข้างร้าย, กลับกลายไปข้างร้าย. (ป.; ส. วิปรีต).
  16. สอนลูกให้เป็นโจร : (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลาย เป็นโจร.
  17. หมูเขี้ยวตัน : (ปาก) น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่ กลับปรากฏว่าตรงกันข้ามเช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมู กลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป.
  18. คอบ ๒ : (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
  19. ผวน : [ผฺวน] ก. หวน, กลับ, เช่น ผวนคํา, เรียกคําที่พูดทวนกลับเช่นนั้น เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็นติดที่อก ว่า คําผวน.
  20. ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
  21. มุมกลับ : น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๑๘๐ องศา กับ ๓๖๐ องศา; (ปาก) แง่คิดหรือทัศนะนัยหนึ่ง, แง่ตรงกันข้าม เช่น มองในมุมกลับ.
  22. ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
  23. หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
  24. หันกลับ : ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.
  25. กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
  26. กลอกกลับ : ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก ก็ว่า.
  27. กู่ไม่กลับ : (สํา) ก. ไม่ฟังคําทัดทาน, ห้ามไม่อยู่.
  28. เพชรกลับ : [เพ็ดชะ] น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  29. ตรลบ : [ตฺระหฺลบ] (กลอน) ก. ตลบ, เอาข่ายครอบนก. ว. หกหลังมา; กลับ ย้อนหลัง; ฟุ้ง.
  30. ปฏิกิริยา : น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
  31. กระลับ : [-หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์).
  32. นิวัต, นิวัตน์ : [วัด] (แบบ) ก. กลับ. (ป. นิวตฺต, นิวตฺตน).
  33. ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  34. เมือ, เมื้อ : ก. ไป, กลับ.
  35. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง : (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับ โทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า.
  36. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  37. ตลบ : [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับ ไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป, (ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
  38. ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
  39. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  40. กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
  41. กระจกเว้า : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถ สะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.
  42. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  43. กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
  44. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  45. กระท้อน ๒ : ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า.
  46. กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
  47. กระยาหงัน : น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
  48. กระลับกระเลือก : [-เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก.
  49. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  50. กลอก : [กฺลอก] ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมา ภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทําให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกน้ำร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-290

(0.1426 sec)