กลับ : [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทําตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.
ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
ด้าน ๒ : ว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.
ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
ด้านรี : น. ด้านข้างของเรือนฝากระดานหรือโบสถ์ วิหาร.
ด้านสกัด : น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน, ถ้าเป็นด้านหัวหรือ ด้านท้ายของโบสถ์วิหาร เรียกว่า ด้านหุ้มกลอง.
กลับคืน : ก. กลับที่เดิม, สู่สภาพเดิม.
กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
กลับกลาย : ก. เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป.
กลับเกลือก : ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), กระลับกระเลือก ก็ว่า.
กลับคำ : ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.
กลับตาลปัตร : [กฺลับตาละปัด] ว. ผิดความคาดหมายอย่าง ตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ.
กลับเนื้อกลับตัว : (สํา) ก. เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี.
ด้านไม้ : ก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจํา.
ด้านหน้า : ก. ดื้อเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกอาย.
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
เคด, เค็ด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Catunaregum tomentosa (Blume ex DC.) Tirveng. ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีหนามยาว ใบรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ตามยอดอ่อน ด้านล่างของใบและดอกมีขนนุ่ม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เช่น ปรูปรางเคดดวงดาษก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
พลิก : [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา.
คอบ ๒ : (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่นพายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
ผวน : [ผฺวน] ก. หวน, กลับ, เช่น ผวนคํา, เรียกคําที่พูดทวนกลับเช่นนั้น เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็นติดที่อก ว่า คําผวน.
ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
มืดแปดด้าน : ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออก ได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
มุมกลับ : น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๑๘๐ องศา กับ ๓๖๐ องศา; (ปาก) แง่คิดหรือทัศนะนัยหนึ่ง, แง่ตรงกันข้าม เช่น มองในมุมกลับ.
หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
หันกลับ : ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.
กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
กลอกกลับ : ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก ก็ว่า.
กู่ไม่กลับ : (สํา) ก. ไม่ฟังคําทัดทาน, ห้ามไม่อยู่.
ดื้อด้าน : ว. ดื้อเสียจนเคยชิน.
เพชรกลับ : [เพ็ดชะ] น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
ด้าว : น. แดน, ประเทศ, เช่น คนต่างด้าว; ด้าน เช่น ด้าวท้าย ว่า ด้านท้าย.
ตรลบ : [ตฺระหฺลบ] (กลอน) ก. ตลบ, เอาข่ายครอบนก. ว. หกหลังมา; กลับ ย้อนหลัง; ฟุ้ง.
ปฏิกิริยา : น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
แม่ฝา : น. ไม้กรอบประกับฝาเรือนฝากระดานทั้ง ๔ ด้าน.
กระโจมทอง : น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับ หลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
กระต่ายจาม : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Br. et Aschers ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้าย ต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทํายาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก. (๒) ดู การบูรป่า.
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระลับ : [-หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์).
กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
กะต้ำ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอยู่, ต้อน ก็ว่า.
กะแล ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียกว่า แกแล.
แกแล ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
ขมวดยา : [ขะหฺมวด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่าง ค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้าน ข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลําสําหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลองทาง ชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า.