กลับ : [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทําตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.
บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
แยกย้าย : ก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกัน กลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็ แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.
กลับคืน : ก. กลับที่เดิม, สู่สภาพเดิม.
กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
บ้านแตกสาแหรกขาด : (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัด พรากกัน.
บ้านนอก : น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอก ตัวเมือง. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
บ้านนอกคอกนา : (สำ) น. บ้านนอกขอกนา.
บ้านพัก : น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็น ที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
บ้านเมืองมีขื่อมีแป : (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมาย คุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ ไม่มีแป.
บ้านรับรอง : น. บ้านที่สร้างไว้สําหรับรับรองแขก.
บ้านเรือน : น. บ้านที่อยู่อาศัย.
กลับกลาย : ก. เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป.
กลับเกลือก : ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), กระลับกระเลือก ก็ว่า.
กลับคำ : ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.
กลับตาลปัตร : [กฺลับตาละปัด] ว. ผิดความคาดหมายอย่าง ตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ.
กลับเนื้อกลับตัว : (สํา) ก. เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี.
บ้านเกิดเมืองนอน : น. ประเทศหรือถิ่นซึ่งเป็นที่เกิด.
บ้านเมือง : น. ประเทศชาติ.
กาหลงรัง : (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้ว ไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
บ่ายควาย : น. เวลาไล่ควายกลับบ้าน, เวลาเย็น, เวลาจวนคํ่า.
บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
ปฏิวัติ : น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลง ระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการ บริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
ย้อน : ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
ลงเวลา : ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
วนเวียน : ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา อยู่หลายรอบ.
แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
เศร้าสร้อย : ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. เ
สงบ : [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์ สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร ผู้ร้าย.
หดหัว : ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอม โผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
หัวหายตะพายขาด : (สํา) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางที ก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.
กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
แก่บ้าน : (ถิ่น-พายัพ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน.
ไก่บ้าน : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมี สีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มี สายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
คอบ ๒ : (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
คู่บ้านคู่เมือง : ว. ที่เป็นของประจําบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.
เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน : (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
ทะเบียนบ้าน : (กฎ) น. ทะเบียนประจําบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลข ประจําบ้านและรายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน.