กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
ใจมือ : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
ตะโพน : น. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วย ฝ่ามือ.
ครึ่ง ๆ กลาง ๆ : ว. ไม่ตลอด, ไม่เต็มที่.
กลางค่ำ :
(โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
กลางช้าง : น. ตําแหน่งพนักงานประจํากลางหลังช้าง.
กลางดิน : น. นอกที่มุงที่บัง เช่น นอนกลางดินกินกลางทราย.
กลางดึก : น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
กลางเดือน : น. วันเพ็ญ เช่น กลางเดือน ๖.
กลางทาสี : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).
กลางนอก : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่ชายสู่ขอมาเลี้ยงเป็นอนุภริยาว่า เมียกลางนอก. (สามดวง).
กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
กลางหาว : น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
กลางเก่ากลางใหม่ : ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
กลางคน : ว. มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาว แต่ยังไม่แก่.
กลางคัน : ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ.
กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
กลางแจ้ง : น. นอกร่มไม้ชายคา.
กลางใจมือ : น. อุ้งมือ.
กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
ปั่นแปะ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เดิมใช้อีแปะ ปัจจุบันใช้สตางค์ หรือเงินเหรียญปั่นให้หมุน แล้วใช้ฝ่ามือปิดไว้ ให้ทายว่าจะออกหัว หรือก้อย, อีกอย่างหนึ่งใช้อีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญ ๒ อัน อันหนึ่งใส่ไว้ในอุ้งมือ แล้วปั่นอีกอันหนึ่งให้หมุน แล้วเอาฝ่ามือ ที่มีอีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญตบลงไปบนอันที่กำลังหมุน ให้ทายว่า ออกหัว ก้อย หรือกลาง ถ้าออกหัว ๒ อัน เรียกว่า ออกหัว ถ้าออกก้อย ๒ อัน เรียกว่า ออกก้อย ถ้าออกหัวอันหนึ่ง ก้อยอันหนึ่ง เรียกว่า ออกกลาง.
อุ้ง : น. ส่วนกลางของฝ่ามือหรือฝ่าเท้า.
ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
ปานกลาง : ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่าง ที่สุด ๒ ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่.
ศาลากลาง : น. อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของจังหวัด เช่น ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา.
ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
กบเต้นกลางสระบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
กลิ้งกลางดง : [กฺลิ้งกฺลาง-] น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceae ตามง่ามใบมีหัวกลมขรุขระ.
กองกลาง : น. สิ่งที่กันไว้เป็นส่วนรวม หรือเป็นสาธารณะ.
กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
ทะลุกลางปล้อง : ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.
ปี่กลาง : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๗ เซนติเมตร กว้างราว ๔ เซนติเมตร.
ฝันกลางวัน : (ปาก) ก. นึกฝันถึงสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้.
วัยกลางคน : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาวแต่ยังไม่แก่ อายุประมาณ ๓๐๕๐ ปี.
ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
หนังกลางวัน ๑ :
ดูใน หนัง๑.
หนังกลางวัน ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ๆ.
อักษรกลาง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็น เสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียง จัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
ดาล ๒ : ก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ฝาสำหรวด : น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็น หลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่น เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็น กรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.
ฝาหอยโข่ง : น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลัก ซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือ แผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็นหรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลัง ไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.