Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลิ่นเต่า, กลิ่น, เต่า , then กลน, กลนตา, กลิ่น, กลิ่นเต่า, ตา, เต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลิ่นเต่า, 1027 found, display 1-50
  1. กลิ่น : [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
  2. กลิ่น : [กฺลิ่น] น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ, ถ้าทําให้ผูกแขวนคว่าลงมา เรียกว่า กลิ่นคว่า, ถ้าทําให้ผูกแขวน ตะแคง เรียกว่า กลิ่นตะแคง.
  3. กลิ่นอาย : น. กลิ่น. (เป็นคําที่มีความหมายซ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).
  4. พู่กลิ่น : น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ. (ดู กลิ่น๒).
  5. ขี้เต่า : น. เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้ มีกลิ่นเหม็น.
  6. โง่เง่าเต่าตุ่น : (สํา) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จํานงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).
  7. ชื่นกลิ่น : ก. ชื่นใจด้วยกลิ่น.
  8. ชูกลิ่น : ก. ส่งกลิ่น.
  9. ตับเต่าขาว : น. เห็ดตับเต่าขาว. [ดู จั่น๕(๒)].
  10. ส่งกลิ่น : ก. กระจายออกไปจนได้กลิ่น เช่น อาหารส่งกลิ่นหอมน่ากิน.
  11. หลังเต่า : ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้ เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  12. กระเบื้องเกล็ดเต่า : น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.
  13. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง : (สํา) น. คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะ รับใช้มานาน.
  14. ไข่เต่า : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งต้มกับกะทิ มีสีขาวรสมันเค็ม มักกินผสมกับขนมปลากริม.
  15. ไข่เต่า : ดูใน ไข่.
  16. ไข่เต่า : น. (๑) ชื่อมะเขือขื่นพันธุ์หนึ่ง สีขาว เนื้อกรอบ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyalthia debilis (Pierre) Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ขึ้นตามป่าโปร่งดินทราย ผลเป็นข้อ ๆ.
  17. ตับเต่า : น. (๑) ชื่อไม้นํ้าชนิด Mimulus orbicularis Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ใบกลม ดอกสีม่วงอ่อน ใบใช้เป็นผัก, ผักอีแปะ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้นํ้าชนิด Hydrocharis dubia (Blume) Backer ในวงศ์ Hydrocharitaceae ลําต้นกลม ดอกสีขาว ใบกินได้. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Boletaceae ขึ้นตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ยืนต้นหลายชนิด ดอกเห็ดใหญ่ สีนํ้าตาลเข้ม ด้านล่างมีรูสีเหลืองอมเขียวหม่นไปจนถึงสีนํ้าตาลอมเขียวหม่น โคนก้าน ใหญ่ กินได้.
  18. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  19. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  20. ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม : (สํา) ว. ยังเป็นเด็ก.
  21. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  22. พรมคดตีนเต่า : น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในวงศ์ Malvaceae ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเป็น ๓ แฉกดอกสีเหลือง.
  23. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  24. หัวเต่า : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  25. หางเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก.
  26. เห็ดตับเต่าขาว, เห็ดตีนแรด : น. เห็ดจั่น. [ดู จั่น๕(๒)].
  27. อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
  28. เอี๊ยม : น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. (ดู เต่า๒). (จ.). (รูปภาพ เอี๊ยม)
  29. กระดอง : น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล. (ทางเหนือว่า ออง).
  30. กระไอ ๑ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
  31. กริว ๑ : [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
  32. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  33. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  34. ขี้ผึ้ง ๒ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  35. แขนง ๓ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  36. คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
  37. จาง : ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  38. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  39. ดำแก้มขาว : ดู เต่าดำ ที่ เต่า.
  40. เทียน ๔ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  41. เบญจกามคุณ : น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
  42. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  43. โยคะ : น. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดย การทำจิตให้เป็นสมาธิ.
  44. เลื้อยคลาน : น. สัตว์เลือดเย็นจําพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจ ด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิด ออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน.
  45. โลกามิส : น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  46. สะไอ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีสะไอจวนจะบูด แล้ว, กระไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็น สะไอ, กระไอ ก็ว่า.
  47. อาย ๒ : น. กลิ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา กลิ่น เป็น กลิ่นอาย.
  48. กัศยป : [กัดสะหฺยบ] (แบบ) น. เต่า. (ส.).
  49. กูรม-, กูรมะ : [กูระมะ] น. เต่า. (ส.).
  50. จิตรจุล : [จิดตฺระ-] (ราชา) น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1027

(0.2016 sec)