หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
กลุ่ม : [กฺลุ่ม] น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน เช่น กลุ่มคน กลุ่มมด กลุ่มดาว กลุ่มด้าย; อาการที่เข้ามารวมกันเช่นนี้ เรียกว่า จับกลุ่ม; ลักษณนามเรียก ของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
เป้า ๒ : น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
เป้า ๓ :
(ถิ่น-พายัพ) น. นกเปล้า. (ดู เปล้า๒).
เป้านิ่ง : น. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.
เป้าบิน : น. เป้าที่โยนขึ้นไปในอากาศแล้วยิง.
เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
หมายขัง : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ระหว่าง สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
หมายค้น : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของ หรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.
หมายจับ : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลย.
หมายจำคุก : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้จําคุกผู้ต้องคําพิพากษาให้ จําคุกหรือประหารชีวิต.
หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
หมายปล่อย : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ต้องขังหรือ จําคุกตามหมายศาล.
หมายมั่น : ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่, มั่นหมาย ก็ว่า.
หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
หมายหน้า : ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตก แน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.
หมายหัว : ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัว ไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.
หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
หมายกำหนดการ : น. เอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่ จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า ''นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า'' เสมอไป.
หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
หมายตัว : ก. กําหนดตัวไว้.
หมายน้ำบ่อหน้า : (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
หมายมั่นปั้นมือ : (สำ) ก. มุ่งมั่นจะเอาหรือจะเป็นให้ได้.
แก๊ง : (ปาก) น. กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล. (อ. gang).
ขีปนาวุธ : [ขีปะ-] น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหาร หรือทําลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนําไปสู่ เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. (อ. ballistic missile).
ควง : ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่ม เดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัด เข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกัน มาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัด ใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
ตะวัน : น. ดวงอาทิตย์. ตะวันขึ้น ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. ตะวันตก ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก; เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดย เฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. ตะวันยอแสง ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสี แดงเข้ม. ตะวันออก ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศ ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. ตะวันออกกลาง น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก ของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. ตะวันออกใกล้ น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย. ตะวันออกไกล น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก ทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออก เฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย. ตะวันอ้อมข้าว ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว.
ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
ฝ่ายซ้าย : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไป ใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.
พุ่งหอกเข้ารก : (สํา) ก. ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คํานึงว่าใครจะเดือดร้อน.
ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
ล็อก ๒ : น. ความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรื่องนี้เป็นไปตามล็อก.
ละเลาะละลอง : ก. บรรลุถึงฝั่ง; ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมาย.
เล็งปืน : ก. ใช้สายตากำหนดเป้าหมายที่จะยิงเพื่อให้แม่น.
วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
วลี : [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
วิ่งรอก : ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
อุดมการณ์ : [อุดมมะ, อุดม] น. หลักการที่วางระเบียบไว้เป็น แนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้.
อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
กระต่ายหมายจันทร์ : (สํา) น. ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า.
กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
จุก ๑ : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.