Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กล่าวขวัญ, กล่าว, ขวัญ , then กลาว, กล่าว, กลาวขวญ, กล่าวขวัญ, ขวัญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กล่าวขวัญ, 374 found, display 1-50
  1. กล่าวขวัญ : ก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทําของคนอื่น.
  2. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  3. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  4. ขวัญเมือง ๑ : ดูใน ขวัญ.
  5. ขวัญอ่อน ๑ : ดูใน ขวัญ.
  6. ผูกขวัญ : ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า ''ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
  7. กล่าวเกลี้ยง : (กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).
  8. กล่าวหา : ก. ฟ้อง, กล่าวโทษ.
  9. ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  10. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  11. ขวัญแขวน : ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
  12. ขวัญบ่า : ก. ขวัญไหลไปจากตัว
  13. ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
  14. กล่าวโทษ : ก. แจ้งว่ากระทําผิด.
  15. กล่าวโอม : (ถิ่น-อีสาน) ก. สู่ขอ.
  16. ขวัญบิน, ขวัญหนี, ขวัญหนีดีฝ่อ, ขวัญหาย : ก. ตกใจ, ใจหาย.
  17. ขวัญเมือง : ๑ น. ยอดกําลังใจของเมือง.
  18. ขวัญเมือง ๒ : undefined
  19. ขวัญอ่อน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  20. ไข่ขวัญ : น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ)ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.
  21. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  22. ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
  23. ทำนูล : ก. บอก, กล่าว; ยกขึ้นเทินหัว. (แผลงมาจาก ทูล). (ข.).
  24. ทูล : ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
  25. พร้อง : [พฺร้อง] ก. พูด, กล่าว, ร้อง.
  26. ภาษ : [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
  27. ข่มขวัญ : ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
  28. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  29. ขู่ขวัญ : ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
  30. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  31. ทำลายขวัญ : ก. ทําให้เสียขวัญ.
  32. บำรุงขวัญ : ก. ทําพิธีเช่นรดนํ้ามนต์ให้ เสกเป่าให้ หรือทําการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกล่าวปลุกใจเพื่อให้ขวัญดี มีใจกล้าหาญ.
  33. ปลอบขวัญ : ก. ปลอบโยนหรือบํารุงขวัญให้มีกําลังใจ.
  34. ป่วยกล่าว : ก. เสียเวลาพูด เช่น จะป่วยกล่าวไปไย.
  35. รับขวัญ : ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
  36. รากขวัญ : (ราชา) น. ไหปลาร้า เรียกว่า พระรากขวัญ.
  37. เรียกขวัญ : ก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.
  38. แรกนา, แรกนาขวัญ : น. ชื่อพิธีเริ่มไถนา, ถ้าทําเป็นทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า พระราชพิธีแรกนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ.
  39. ลูกแก้วลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
  40. ลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกแก้วลูกขวัญ ก็เรียก.
  41. ว่ากล่าว : ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
  42. สยองขวัญ : ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
  43. หมอขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์ และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
  44. ข้าวขวัญ : น. ข้าวบายศรี.
  45. เงินขวัญถุง : น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล.
  46. จอมขวัญ : น. ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง หญิงที่รัก.
  47. บนบานศาลกล่าว : (สํา) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
  48. บอกกล่าว : ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
  49. มุ่งร้ายหมายขวัญ : ก. คิดปองร้าย.
  50. วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ : น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-374

(0.1457 sec)