Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กล้ามเนื้อ, เนื้อ, กล้าม , then กลาม, กล้าม, กล้ามเนื้อ, นอ, เนื้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กล้ามเนื้อ, 808 found, display 1-50
  1. กล้าม : [กฺล้าม] น. เนื้อมะพร้าวห้าว; มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ.
  2. ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
  3. เอ็นกล้ามเนื้อ : น. เอ็นชนิดที่ปลายใดปลายหนึ่งยึดกับกล้ามเนื้อ. (อ. tendon, sinew).
  4. เนื้อ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  5. เนื้อ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  6. เล่นกล้าม : ก. บริหารร่างกายเพื่อเพาะกล้ามเนื้อให้ใหญ่แข็งแรง.
  7. เนื้อกษัตริย์ : น. เนื้อโลหะ เช่น ทองคํา เงิน นาก ที่บริสุทธิ์, โดยปริยาย หมายถึงเนื้อแท้ของสิ่งนั้น ๆ.
  8. เนื้อเค็ม : น. เนื้อวัวเนื้อควายเป็นต้นที่หมักเกลือตากแห้งไว้.
  9. เนื้องอก : น. เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปรกติ อาจเป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง หรือเป็นผลมาจากสาเหตุอื่นเช่นเชื้อโรค ก็ได้.
  10. เนื้อตัว : น. ร่างกาย เช่น เนื้อตัวเหนอะหนะ.
  11. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  12. เนื้อนาบุญ : น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
  13. เนื้อเปื่อย : น. เนื้อวัวที่ต้มจนเปื่อยใช้ประกอบอาหาร.
  14. เนื้อผ้า : (สำ) น. ความจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
  15. เนื้อร้าย ๒ : น. เนื้อเป็นโรค เกิดแก่ คน สัตว์ และต้นไม้ หรือแผลที่เป็น มะเร็ง มีอาการต่าง ๆ.
  16. เนื้อความ : น. ข้อความทั่ว ๆ ไป.
  17. เนื้อคู่ : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สม เป็นคู่ครองกัน, คู่สร้าง หรือ คู่สร้างคู่สม ก็ว่า.
  18. เนื้อตาย : น. เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดหรือถูกพิษอย่างอื่นจนเซลล์ตาย.
  19. เนื้อแท้ : น. ส่วนที่แท้, ส่วนที่จริง.
  20. เนื้อเพลง : น. ส่วนสําคัญของทํานองเพลงที่บอกให้รู้ว่าเป็นเพลงอะไร; ทํานองเพลง.
  21. เนื้อไม้ : น. ส่วนของต้นไม้ที่อยู่ถัดเปลือกเข้าไป; แก่นไม้หอม โดยมาก ใช้ทําธูป, ชนิดที่ดีมีสีดํา ใช้ทํายาไทย.
  22. เนื้อร้อง : น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
  23. เนื้อร้าย ๑ : น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ.
  24. เนื้อเรื่อง : น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง.
  25. เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
  26. กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
  27. กระตุก : ก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก, อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.
  28. กระหมิบ : ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
  29. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  30. กระแหม่ว : [-แหฺม่ว] ก. แขม่ว, ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ท้องยุบลง. (แผลงมาจาก แขม่ว).
  31. กะทิ ๑ : น. น้ำที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือน้ำบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นจากเนื้อมะพร้าวขูดล้วน ๆ เรียกว่า หัวกะทิ, ของหวานทําด้วยน้ำตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้น้ำตาลมากกว่า เรียกว่า น้ำตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีน้ำข้น เนื้ออ่อนกล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.
  32. กะบังลม : น. แผ่นกั้นประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อพังผืดแยก ช่องท้องออกจากช่องอก มีอาการยืดและหดได้เพื่อช่วยในการหายใจ.
  33. กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
  34. เกร็ง : [เกฺร็ง] ก. ทํากล้ามเนื้อให้แข็ง เช่น เกร็งข้อ เกร็งแขน. ว. อาการที่ กล้ามเนื้อเป็นต้นแข็งอย่างงอไม่ได้ เช่น มือเกร็ง เท้าเกร็ง.
  35. เขม่น : [ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อ โบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.
  36. แขม่ว : [ขะแหฺม่ว] ก. ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ ท้องยุบลง, กระแหม่ว ก็ว่า.
  37. ไข้หวัดใหญ่ : น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจาก เชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและ อ่อนเพลีย. (อ. influenza).
  38. เคล็ด ๒ : [เคฺล็ด] ก. อาการที่กล้ามเนื้อแพลง เช่น ขาเคล็ด คอเคล็ด.
  39. จับเส้น : ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจ ผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
  40. ฉีดยา : ก. เอายาฉีดเข้าไปในร่างกายทางใต้ผิวหนัง ทางกล้ามเนื้อ หรือ ทางเส้นเลือด.
  41. ชัก ๒ : ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง มักมีอาการมือเท้าเกร็ง.
  42. ตะคริว, ตะคิว : น. อาการหดตัวของกล้ามเนื้อและค้างอยู่ ทําให้เกิดการเจ็บปวด.
  43. ปอดเหล็ก : น. เครื่องกลไกสร้างด้วยโลหะ ใช้ทําให้เกิดการบีบและ ขยายของทรวงอกในการหายใจแทนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ในเมื่อมีอัมพาตของกล้ามเนื้อ เช่นในโรคโปลิโอ. (ปาก) ก. อดทน แข็งแรง (ใช้แก่นักกีฬาประเภทวิ่ง).
  44. โปลิโอ : น. โรคกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต เพราะประสาท ไขสันหลังอักเสบเนื่องจากเชื้อไวรัสประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า โปลิโอ ไวรัส, โรคไขสันหลังอักเสบ ก็เรียก. (อ. poliomyelitis).
  45. พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
  46. พังผืด : น. เยื่อเหนียวที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกัน, พั้งผืด ก็ว่า.
  47. เพาะกาย : ก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียก น้ำหนักเป็นต้น.
  48. เมื่อย : ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.
  49. ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
  50. ลูกหนู ๒ : น. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่ แขน, ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลําได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้ ขากรรไกรล่างและใต้คาง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-808

(0.1907 sec)