กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
กล่า : [กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คําหลวง ชูชก).
จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
กระลา ๒ : น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
กล้า ๑ : [กฺล้า] น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกในที่อื่นว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ.
กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
เกลา : [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน หนังสือ เกลานิสัย.
เกล้า : [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.
เกลาะ : [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ซั้ง : น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
ศุกลัม : [กฺลํา] น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว).