กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
แม่ทัพ : น. นายทัพ, ผู้ทำหน้าที่คุมกองทัพ, เช่น แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ แม่ทัพภาค.
ขันธาวาร : [-ทาวาน] (แบบ) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
เดินอากาศ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
ปรับอากาศ : ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
ผิดอากาศ : ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ.
พยุห, พยุหะ : [พะยุหะ] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับใน ปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).
โพยม : [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้. (ส. โวฺยมนฺ).
ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
รี้ : (โบ) น. พล, พลรบ, กองทัพ, กองทหาร. ก. ยกไป, เดินไป.
วายุ :
น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
วาหินี : น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).
สลัดอากาศ : น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
อัมพร : [พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).
เมล์อากาศ : น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
ไม้หันอากาศ : น. ไม้ผัด.
รากอากาศ : น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
ออกอากาศ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพ ทางโทรทัศน์.
ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
กายภาพ : ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, เกี่ยวกับสสารและพลังงาน, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) ศึกษาเกี่ยวกับสสาร และพลังงาน; เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโลก เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ของผิวดิน บรรยากาศ อากาศ พืช และสัตว์ในถิ่นต่าง ๆ.
ขจร ๑ : [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กําจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
คลุมเครือ : ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศ ที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่ จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัด ไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.
ชระมัว : [ชฺระ] (กลอน) ว. ขมุกขมัว, ยังไม่สว่าง, เช้าตรู่, มืด, เช่น ชระมัวทั่วทิศเอียง อากาศ. (นิ. นรินทร์).
นภ : [นะพะ, นบพะ] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).
เบญจภูต : น. ธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม อากาศ.
ปรวนแปร : [ปฺรวนแปฺร] ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ ปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า.
แปรปรวน : ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ แปรปรวน, รวนเร เช่น ใจแปรปรวน, ปรวนแปร ก็ว่า.
พยู่ห์ : [พะยู่] น. พยุหะ, กระบวน, หมู่, กองทัพ.
พลกาย : [พนละ] (กลอน) น. กองทัพ. (ป., ส.).
พลขันธ์ : [พนละ] น. กองทัพ.
โพยมัน, โพยมาน : [พะโยมัน, พะโยมาน] น. โพยม, ท้องฟ้า, อากาศ. (ส.).
ลมบก : น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจาก อุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศ เหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่.
ล่องแมว : น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเท อากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน.
ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
วิหายสะ : [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
เวหะ, เวหา : น. ฟ้า, อากาศ. (ส. วิห, วิหา).
เวหาส : [หาด] น. ฟ้า, อากาศ. (ป.; ส. วิหายส).
สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
อนิลบถ : [อะนิละบด] น. ทางลม, ฟ้า, อากาศ. (ป. อนิลปถ).
อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).