กรวิก ๑ : [กะระ-, กอระ-] (แบบ) น. นกการเวก. (ไตรภูมิ). (ป., ส. กรวีก).
กรวิก ๒ :
[กะระ-, กอระ-] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
กรสุทธิ์ : [กะระ-] น. ''การชําระมือให้หมดจด'', พิธีอย่างหนึ่งของ พราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้ สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
กรณิการ์ : [กะระ-] น. กรรณิการ์.
กรณี : [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
กรณีย-, กรณีย์, กรณียะ : [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทํา, อันพึงทํา. (ป.).
กร ๒ : [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อน ดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
กร ๓ : [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
กร ๑ : [กอน] น. ผู้ทํา, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).
กรกัติ : [กฺระกัด] (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กรรดิ : [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
กรรุณา : [กฺระ-] (โบ) น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา. (สามดวง).
กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
กรสานต์ : [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กรรม์ : [กัน] (กลอน) น. กรรม
กรรมชรูป : [กํามะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).
กรรม์ภิรมย์ : ดู กรรภิรมย์.
กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
กรีฑากร : ก. ทํากรีฑา เช่น ปางกรีฑากร อนงค์ในแท่นทอง. (สมุทรโฆษ).
บุษบากร : ว. อันเต็มไปด้วยดอกไม้. (ส. ปุษฺปากร).
มูลิกากร : น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
ทวิชากร : [ทะวิ-] (แบบ) น. ฝูงนก. (ส.).
นวกรรมิก : น. ผู้ดูแลการก่อสร้าง. (ส.; ป. นวกมฺมิก).
บรรณาธิกร :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
บาทมูลิกากร : [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์. (ป.).
พัทธยากร : น. ค่าภาคหลวง.
พุทธปฏิมา, พุทธปฏิมากร : น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์ พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, มักใช้ย่อเป็น ปฏิมา หรือ ปฏิมากร.
มัญเชฏฐิกากร : น. ส่วยฝาง. (ป.).
รัชนีกร : น. พระจันทร์. (ป., ส.).
วณิชชากร : น. ผู้ทําการค้าขาย, พวกพ่อค้า. (ป.).
กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
กรรมกร : [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
ร : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอระลี) หรดี (หอระดี).
กรกฎ, กรกฏ : กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์). [กอระกด] (แบบ) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน); ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ ในจักรราศี. (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
กรร ๑ : [กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
กรรกศ : [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไป กรรกษ บารนี ฯ. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
กรรชิด : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กรอ ๑ : ก. ม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร; ควง เช่น กรเกาะขอกรอธาร เงือดง้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
กรอ ๔ : ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก, ลำบาก).
กระกวด : (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).