Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กาม , then กาม, กามะ, กามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กาม, 68 found, display 1-50
  1. กาม, กาม- : [กามมะ-] น. ความใคร่, ความใคร่ทางเมถุน. (ป., ส.).
  2. กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
  3. กามท- : [กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ ไพรระเรียง. (ม. คําหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).
  4. กามกรีฑา : น. ชั้นเชิงในทางกาม. (ส.).
  5. กามกิจ : น. การร่วมประเวณี.
  6. กามฉันท์ : น. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
  7. กาม : (กลอน) น. กาม เช่น เข้าแต่หอล่อกามา. (มูลบท).
  8. กาม : ดู กาม, กาม-.
  9. กามราค, กามราคะ : [กามมะราก, กามมะ-] น. ความกําหนัดในกาม. (ป., ส.).
  10. ถนิมกาม : ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม. (ม. คําหลวง ทศพร).
  11. ธรรมกาม : น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
  12. กามาพจร, ฉกามาวจร : [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
  13. กามัช : ดู กาม, กาม-.
  14. กามาทีนพ : ดู กาม, กาม-.
  15. กามาทีนพ : น. โทษแห่งกาม. (ป. กาม + อาทีนว).
  16. กามาพจร, กามาวจร : ว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
  17. กามาพจร, กามาวจร : ดู กาม, กาม-.
  18. กามามิศ : ดู กาม, กาม-.
  19. กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
  20. กามารมณ์ : ดู กาม, กาม-.
  21. กามารมณ์ : น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. (ป. กาม + อารฺมณ).
  22. กามิศ, กาเมศ : ดู กาม, กาม-.
  23. กาโมทย : [-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
  24. กาโมทย : ดู กาม, กาม-.
  25. โอฆ, โอฆะ : [โอคะ] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับ จิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).
  26. กามวิตถาร : [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.
  27. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  28. กระวน : (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
  29. กระเวน ๒ : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
  30. กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
  31. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  32. กระอืด : ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
  33. กรีฑา : [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่ และประเภทลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
  34. กาม : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
  35. กามภพ : น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
  36. กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
  37. กามวิตก : น. ความครุ่นคิดในกาม, ความคิดคำนึงในทางกาม. (ป.).
  38. กามัช : ว. เกิดแต่กาม. (ป., ส.).
  39. กามิศ, กาเมศ : ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยัง ติดแม่. (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).
  40. กายทุจริต : [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
  41. กายสิทธิ์ : ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิด ในกาม ๑.
  42. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  43. โกมล ๑ : ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  44. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  45. จังกวด ๒ : (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
  46. ตระอร : [ตฺระออน] ก. ทําให้ชอบใจ; ประคับประคอง เช่น เกื้อกามตระอร. (กฤษณา).
  47. ตัณหา : [ตันหา] น. ความทะยานอยาก, โดยทั่วไปใช้หมายถึงความใคร่ในกาม. (ป.; ส. ตฺฤษฺณา).
  48. ทท : [ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท = ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).
  49. ทวารบถ : [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกําแพงเชิงเทิน ป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
  50. เนกขัม : (แบบ) น. การออก, การออกจากกาม, การออกบวช. (ป. เนกฺขมฺม).
  51. [1-50] | 51-68

(0.0545 sec)