-การ ๓ : คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
-การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
กรสุทธิ์ : [กะระ-] น. ''การชําระมือให้หมดจด'', พิธีอย่างหนึ่งของ พราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้ สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
การครัว : น. การหุงหาอาหาร.
การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
การเงิน : น. กิจการเกี่ยวกับเงิน, เรื่องเกี่ยวกับเงิน เช่น เดือนนี้การเงินไม่ค่อยดี.
การทะเบียนราษฎร : (กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียน ประวัติราษฎร.
การประกอบโรคศิลปะ : (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และ สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
การละเล่น : น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง.
การจร : น. งานซึ่งไม่ได้ทําเป็นประจําหรือที่คาดไม่ถึง.
การต่างประเทศ : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการต่างประเทศ.
การบุเรียน : (โบ) น. การเปรียญ.
การสื่อสาร : น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีก สถานที่หนึ่ง.
กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
กรมการจังหวัด :
น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคน ที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
กระแสการเงิน : น. การหมุนเวียนของเงินตรา.
กฤดา, กฤดาการ : [กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
กฤดาธิการ : [กฺริดาทิกาน] น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
เกินการ : ก. มากกว่าที่ต้องประสงค์ เช่น แก่เกินการ เอาของมาเกินการ.
คณะกรมการจังหวัด : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
ค่าป่วยการ : (กฎ) น. ค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไป.
คิดการใหญ่ : ก. คิดจะทําการใหญ่เกินตัว.
โฆษณาการ : น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
ทหารกองประจำการ : (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและ ได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการ ปกครองประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ.
นิปัจการ : [นิปัดจะกาน] น. การเคารพ. (ป. นิปจฺจการ).
นิสัชชาการ : น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
บริษการ : [บอริสะกาน] (แบบ) น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
ประจำการ : ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ หน้าที่, เช่น ทหารประจําการ.
ประมวลการสอน : น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
ประมาณการ : น. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกําหนดไว้อย่าง คร่าว ๆ. ก. กะหรือกําหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.
ประสันนาการ : น. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
ประสาทการ : [ปฺระสาทะ-] น. การเลื่อมใส.
ประสูติการ : น. การเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติการ.
ปริษการ : [ปะริดสะกาน] น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
ป่วยการ : ก. เสียงานเสียการ, ไร้ประโยชน์, เช่น ป่วยการพูด. ว. เรียกค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไปว่า ค่าป่วยการ.
ปสัยหาการ : น. การข่มเหง. (ป.).
ปัจยาการ : [ปัดจะยา-] (แบบ) น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
ปีการศึกษา : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาทําการสอนในรอบ ๑ ปี.
ผู้ชำนาญการพิเศษ : (กฎ) น. ผู้มีความชํานาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือ กฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ใน การวินิจฉัยคดีในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี อาญาไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.
มายาการ : น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้ พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
ยุทธนาธิการ : น. หน้าที่แห่งการรบ, หน้าที่แผนกการรบ.
ระเบียบการ : น. ข้อกําหนดหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเป็นแนวปฏิบัติ เช่น ระเบียบการของโรงเรียน.