ร้อน : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวน กระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.
ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
กาแฟ ๑ : น. ชื่อเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ทํามาจากเมล็ดต้นกาแฟ.
กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ : ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.
ร้อนตัว : ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.
ร้อนที่ : (ปาก) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่ติดที่ไม่ได้.
ร้อนรุ่ม : ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, รุ่มร้อน ก็ว่า.
ร้อนหู : ก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.
ร้อนอาสน์ : (สํา) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทําให้อยู่เฉยไม่ได้.
ร้อนผ้าเหลือง : (ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
กินปูนร้อนท้อง : (สํา) ก. ทําอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.
ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
เดือนร้อน : น. หน้าร้อน.
บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
ปวดแสบปวดร้อน : ก. รู้สึกเจ็บเช่นเมื่อถูกไฟหรือนํ้าร้อนลวก.
เผ็ดร้อน : ว. ทั้งเผ็ดทั้งร้อนอย่างรสพริกไทยหรือดีปลี; รุนแรง เช่น โต้คารมอย่างเผ็ดร้อน.
พายุโซนร้อน : น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณ ทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
พายุนอกโซนร้อน : น. พายุโซนร้อนที่เคลื่อนที่ไปในละติจูดสูง ๆ ในบริเวณนอกโซนร้อนหรือที่เกิดขึ้นนอกโซนร้อน.
มือร้อน : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นหรือไม่งอกงามว่า คนมือร้อน, ตรงข้ามกับ มือเย็น.
รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
รุ่มร้อน : ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, ร้อนรุ่ม ก็ว่า.
ลมร้อน : น. ลมที่นำความร้อนมาด้วย.
หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
รอน : ก. ตัดให้เป็นท่อน ๆ เช่น รอนฟืน; ทำให้ลดลง เช่น รอนกําลัง.
แกงร้อน : น. ชื่อแกงจืดชนิดหนึ่งใส่วุ้นเส้น.
ข้าวแดงแกงร้อน : (สํา) น. บุญคุณ.
เงินร้อน : น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
เจ็บร้อน : ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
เจ้าข้าวแดงแกงร้อน : น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
เดือดร้อน : ก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข.
ทองไม่รู้ร้อน : (สํา) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.
น้ำร้อนปลาเป็น : (สํา) น. คําพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการ เตือนให้ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.
ผ้าเหลืองร้อน : (ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร).
พักร้อน : ก. หยุดพักผ่อน.
รังสีความร้อน : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสี อินฟราเรด ก็เรียก.
เลือดร้อน : ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
อาบน้ำร้อนมาก่อน : (สํา) ก. เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า.
กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว : ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่า จะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
ดอกลำเจียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะ ร้อน ๆ ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
โผฏฐัพ, โผฏฐัพพะ : [โผดถับพะ] น. สิ่งที่มาถูกต้องกาย คือ สิ่งที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด. (ป.).
พริกไทย : น. ชื่อไม้เถาชนิด Piper nigrum L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ด ร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดํา, ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว.
หยก ๆ : ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.