Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กำหนัด , then กำหนด, กำหนัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กำหนัด, 152 found, display 1-50
  1. กำหนัด : [-หฺนัด] น. ความใคร่ในกามคุณ. ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกําหนัดใน. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
  2. กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
  3. ราคจริต : น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.
  4. อนุสัย : น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความ ขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเล สงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  5. ลิขิต : น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
  6. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  7. ข้อกำหนด : น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติหรือดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  8. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  9. คดี : [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทาง กฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
  10. หัวข้อ : น. ต้นเรื่อง, ส่วนสําคัญของเรื่องที่แยกออกเป็นส่วน ๆ และ กำหนด ไว้ตอนต้นเรื่อง, ใจความสําคัญ.
  11. อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  12. กฎหมายรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทาง การเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของ รัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
  13. กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
  14. กลียุค : [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
  15. กัก : ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักน้ำ. ว. หยุดชะงัก เช่น หยุดกัก.
  16. กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
  17. กำนัด : [กำหฺนัด] (โบ) ก. กําหนัด เช่น พิศเพี้ยนพระพนิดาทุกขานลกํานัด ดัดรัตนธารี มาดู. (สมุทรโฆษ).
  18. กำลังม้า : (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์ ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. (อ. horse power).
  19. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  20. ข้อจำกัด : (กฎ) น. สิ่งที่กำหนดขอบเขตสิทธิหรืออำนาจไว้โดยเฉพาะ.
  21. ข้อยกเว้น : น. ข้อความที่ไม่เกี่ยวด้วยเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์เป็นต้น ที่กำหนดไว้.
  22. ข้อสังเกต : น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มี ข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
  23. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  24. ขาดอายุ : ก. พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ใบขับขี่ขาดอายุ.
  25. ขีดคั่น : ก. ขีดกั้นไว้, กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว ให้ทำเครื่องหมายขีดคั่นไว้.
  26. ขีดเส้นตาย : ก. กำหนดเวลาสุดท้ายให้.
  27. เข้าปก : ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
  28. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  29. เข้าสุหนัต : ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด ในศาสนาอิสลาม.
  30. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  31. คณะกรมการจังหวัด : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
  32. คณะรัฐมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบ ด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
  33. คดีมโนสาเร่ : (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
  34. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  35. คาบเส้น : ก. อยู่ตรงเกณฑ์ที่กำหนดพอดี เช่น สอบไล่ได้คะแนนคาบเส้น.
  36. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  37. ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  38. งวด : น. คราวที่กำหนด เช่น การออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด, ลักษณนามเรียกจำนวนนับของคราวที่กำหนด เช่น แบ่งการชำระหนี้ ออกเป็น ๕ งวด. ก. ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง.
  39. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  40. เงินดาวน์ : (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
  41. จับลมปราณ : น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย.
  42. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  43. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  44. ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  45. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  46. ตราสารจัดตั้ง : (กฎ) น. หนังสือสำคัญก่อตั้งนิติบุคคลที่กำหนดขอบเขตแห่ง อำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น.
  47. ทหารกองเกิน : (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มี อายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ พร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหาร กองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
  48. ทองนพคุณ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  49. ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  50. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-152

(0.0588 sec)