กิโลเมตร : น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑,๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล. (ฝ. kilometre).
กิโล, กิโล- : เป็นคําประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
แกมมา : (ฟิสิกส์) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอํานาจใน การเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. (อ. gamma).
ทอร์นาโด : น. ชื่อพายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกด อากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุ มีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวง ยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. (อ. tornado).
เนปจูน : น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะ อยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔,๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘,๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗,๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. (อ. Neptune).
ปีแสง : น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกําหนดว่า ระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็น ระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร.
พลูโต : [พฺลู] น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้น ผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจร เป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงจรของดาว เนปจูน, ดาวยม ก็เรียก. (อ. Pluto).
พายุไซโคลน : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป.
พายุดีเปรสชัน : น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ทำให้ฝนตกปานกลาง ถึงตกหนัก เกิดขึ้นในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลม สูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง. (อ. depression).
พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
พุธ : น. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็น ด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้น ผ่าศูนย์กลาง ๔,๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศ และมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก; ชื่อวันที่ ๔ แห่งสัปดาห์.
ไมล์ : น. ชื่อมาตราวัดของอังกฤษ มีกําหนด ๑ ไมล์ เท่ากับ ๔๐ เส้น หรือ ๑.๖๐๙ กิโลเมตร. (อ. mile).
ยม ๒, ยม : [ยม, ยมมะ] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวง โคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.).
ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
โลก, โลก : [โลก, โลกะ, โลกกะ] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มี เนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
อังคาร : [คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ใน ระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้น ผิวขรุขระ และมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.)
เฆี่ยน : ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
ไซโคลน : [โคฺลน] น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (อ. cyclone).
ดีเปรสชัน : น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังอ่อน ทําให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก เกิดขึ้น ในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลาง ไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. (อ. depression).
นอต ๑ : น. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่า เท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต. (อ. knot).
บีตา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสี แกมมา. (อ. beta rays).
พฤหัสบดี : [พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี] น. (โหร) เทพที่เป็นครูของเทวดา ทั้งหลาย; (ดารา) ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มี เส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒,๘๐๐ กิโลเมตร; ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. (ส. วฺฤหสฺปติ; ป. วิหปฺปติ).
พายุโซนร้อน : น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณ ทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
พายุไต้ฝุ่น : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเล จีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).
มฤตยู : [มะรึดตะยู] น. ความตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวยูเรนัส ก็เรียก. (ส. มฺฤตฺยู; ป. มจฺจุ).
ยูเรนัส : น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวมฤตยู ก็เรียก. (อ. Uranus).
ลี้ ๒ : น. มาตราวัดระยะทางของจีน ๑ ลี้ ยาวประมาณครึ่งกิโลเมตร.
วิ่งทน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการ แข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
วิ่งมาราธอน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตาม มาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งทน ก็ว่า.
แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).